Page 136 -
P. 136
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไทด์ (flavin mononucleotide: FMN) และในรูปของไรโบฟลาวินอิสระ ทั้ง FAD และFMN
มีบทบาทสำคัญในการพาไฮโดรเจนอะตอมในลูกโซ่การขนส่งอิเลคตรอน (ETS) เพื่อให้ได้
พลังงานในรูปของ ATP ส่วนไรโบฟลาวินอิสระพบในส่วนเรตินาของตา พลาสมา และใน
น้ำนม ไรโบฟลาวินพบมากในพืชสีเขียว ยีสต์ รา แบคทีเรีย ตับ และหางนมเวย์ (whey) แต่
ในเมล็ดธัญพืชมีน้อย โดยปกติสัตว์กระเพาะรวมได้รับไวตามินบีต่าง ๆ จากจุลินทรีย์ในกระ-
เพาะรูเมนอย่างเพียงพอจึงไม่จำเป็นต้องเสริมในอาหาร แต่ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวต้องได้รับ
การเสริมจากอาหาร และหากได้รับไวตามินบี2 ไม่เพียงพอ จะทำให้สุกรเติบโตช้า ผิวหนัง
พุพอง ประสาทเสื่อม ส่วนไก่มีอาการผิดปกติของขา เติบโตช้า เกิดอาการที่เรียกว่า “curled
toe paralysis” เป็นอาการที่ประสาท peripheral nerve เสื่อมลง ไก่จะเดินด้วยเข่าและ
ข้อขา สำหรับแม่ไก่พันธุ์มีผลให้อัตราการฟักออกลดลงและมีการผิดปกติของตัวอ่อนเพิ่มขึ้น
• ไนอาซีน (niacin) หรือกรดนิโคตินิค (nicotinic acid) หรือนิโคตินามีด (nicotinamide)
เป็นองค์ประกอบของนิโคตินามีด-อะดินีน-ไดนิวคลีโอไทด์ (nicotinamide adenine
dinucleotide: NAD) และนิโคตินามีด-อะดินีน-ไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต (nicotinamide
adenine dinucleotide phosphate: NADP) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโคเอ็นไซม์ที่สำคัญในวิถีไกล
โคไลซีส และการหายใจของเซลล์โดยเป็นตัวพาไฮโดรเจนอะตอมในลูกโซ่การขนส่งอิเลค-
ตรอนเช่นเดียวกับไรโบฟลาวิน ไนอาซินพบมากในตับ เมล็ดถั่ว ปลา ยีสต์ และรำข้าว สัตว์
สามารถสังเคราะห์ไนอาซีนได้จากกรดอะมิโนทริฟโตเฟน แต่ประสิทธิภาพในการเปลี่ยน
ค่อนข้างต่ำประมาณ 60:1 หมายถึงต้องใช้กรดอะมิโนทริฟโตเฟน 60 มิลลิกรัมจึงจะได้ไนอา
ซีน 1 มิลลิกรัม สัตว์ที่ได้รับไนอาซีนไม่เพียงพอจะแสดงอาการโรคทางเดินอาหารและโรค
ผิวหนัง เกิดโรค “Black tongue” คือมีการอักเสบ บวมแดง และเนื้อเยื่อในปากตาย ทำให้
สัตว์กินอาหารและน้ำลดลง
• ไวตามินบี6 หรือไพริดอกซีน (pyridoxine) สามารถพบได้ 3 รูปแบบคือ ไพริดอกซีน
(pyridoxine) ไพริดอกซาล (pyridoxal) และไพริดอกซามีน (pyridoxamine) ซึ่งสามารถ
เปลี่ยนแปลงระหว่างกันและกันได้ สัตว์จะเปลี่ยนไพริดอกซีนและไพริดอกซามีนให้อยู่ในรูป
ไวตามิน 133