Page 137 -
P. 137

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     ของไพริดอกซาลก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ ไพริดอกซาลจะถูกเปลี่ยนเป็นไพริดอกซาล

                     ฟอสเฟต (pyridoxal phosphate) ซึ่งมีบทบาทเป็นโคเอ็นไซม์ของเอ็นไซม์หลายชนิดที่

                     เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของโปรตีนเช่น ปฏิกิริยาการเคลื่อนย้ายหมู่อะมิโนของกรดอะมิโน

                     (รูปที่ 6-16) สัตว์ที่ขาดไวตามินบี 6 มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง เบื่ออาหาร เกิดโรคโลหิต


                     จางแบบ “microcytic hypochromic anaemia” (เซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กกว่า

                     ปกติและติดสีจาง) และมีอาการชัก ในไก่มีอัตราการไข่และการฟักออกเป็นตัวลดลง


                     • กรดแพนโทธินิค (pantothenic acid) เป็นส่วนประกอบของโคเอ็นไซม์-เอ ซึ่งมี

                     ความสำคัญต่อเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และกรดอะมิโน และยังมีความสัมพันธ์

                     กับไวตามินบีชนิดอื่น เช่น ไวตามินบี12 กรดโฟลิค ไบโอติน และไวตามินซี สุกรที่ขาดกรด


                     แพนโทธินิคจะเจริญเติบโตช้า ท้องร่วง ขนร่วง ผิวหนังตกสะเก็ด และมีท่าทางเดินคล้ายห่าน

                     (goose-stepping gate) คือ เดินยกขา ในรายที่รุนแรงจะเดินไม่ได้ ในไก่เกิดอาการ

                     early-chick-mortality คือ ลูกไก่จากแม่ไก่ที่ขาดกรดแพนโทธินิคจะตายภายใน 2-3 วัน

                     หลังจากฟักออก ส่วนไก่ที่โตเต็มวัยจะแสดงอาการทางประสาทและผิวหนัง โดยผิวหนังตก

                     สะเก็ด ขนหัก มีอาการเอ็นเคลื่อนทำให้เดินไม่ได้และตายในที่สุด



                     • กรดโฟลิค (folic acid) หรือโฟลาซิน (folacin) เป็นไวตามินที่พบมากในพืชใบเขียว

                     และเมล็ดถั่วเหลือง โดยทั่วไปกรดโฟลิคที่มีในพืชและสัตว์จะรวมตัวอยู่กับกรดกลูตามิคทำให้

                     สัตว์ใช้ประโยชน์ไม่ได้ทันที ต้องใช้เอ็นไซม์คอนจูเกส (conjugases) จากตับ ไต และตับอ่อน


                     ของสัตว์ย่อยได้เป็นกรดโฟลิคอิสระ จากนั้นกรดโฟลิคอิสระจะเปลี่ยนให้ในรูปกรดเตทตรา

                     ไฮโดรโฟลิค (tetrahydrofolic acid) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโคเอ็นไซม์ในปฏิกิริยาการเคลื่อนย้าย

                     คาร์บอนหนึ่งตัวจากสารหนึ่งไปยังอีกสารหนึ่ง (single carbon metabolism)(รูปที่ 8-9)

                     เช่น การเปลี่ยนกรดอะมิโนเซอรีนเป็นไกลซีนเป็นต้น และมีบทบาทในกระบวนการสังเคราะห์

                     เบสเพียวรีนและไพริมิดีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิค นอกจากนี้กรดโฟลิคจะทำ


                     หน้าที่ร่วมกับไวตามินบี12 ในกระบวนการสังเคราะห์เมทไธโอนีนจากโฮโมซีสเตอีน หากสัตว์

                     ได้รับกรดโฟลิคไม่เพียงพอจะเกิดโรคโลหิตจางชนิด“macrocytic anaemia” คือเม็ดเลือด





                     ไวตามิน                                                                         134
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142