Page 128 -
P. 128
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การดูดซึมไวตามินเอ
ไวตามินเอดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในรูปของแอลดีไฮด์คือเรตินาล กรดเรติโนอิค และเบต้า-คาโร
ทีนโดยอาศัยไขมัน ไวตามินเอและสารเบต้า-คาโรทีนจะรวมตัวกับน้ำดี โมโนกลีเซอไรด์ กรด
ไขมัน คอเลสเตอรอล ไวตามินดีและไวตามินเคเป็นอนุภาครวมซึ่งจะพาไปให้เซลล์ของลำไส้
ที่ผนังลำไส้สารเบต้า-คาโรทีนจะถูกเปลี่ยนเป็นไวตามินเอ แล้วเปลี่ยนต่อไปเป็นไวตามินเอ
เอสเทอร์ (vitamin A-ester) โดยการรวมตัวกับกรดไขมัน เช่น กรดปาล์มมิติค เป็นต้น ไว
ตามินเอจะเคลื่อนไปในพลาสมาได้ใน 2 รูปแบบ คือเรตินอลและเรตินาล ไวตามินเอเอส
เทอร์นี้จะเคลื่อนไปตามกระแสเลือดโดยเกาะอยู่กับเบต้า-ไลโปโปรตีน (-lipoprotein) ส่วน
ไวตามินเอในรูปของเรตินอลจะเกาะอยู่กับสารโกลบูลิน (globulin) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเลือด
หน้าที่ของไวตามิน เอ
1. การมองเห็น สัตว์สามารถมองเห็นได้ดีในเวลากลางคืนหรือเมื่อมีความเข้มแสงน้อย
เนื่องจากพลังงานที่สะสมไว้ในรูป all-cis-retinaldehyde ซึ่งได้มาจาก trans-retinal-
dehyde ไวตามินเอในรูป cis-retinal จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนที่มีชื่อว่าออบซิน (opsin) ใน
ที่มืด โดยเอ็นไซม์ retinene isomerase เกิดเป็นสารโรดอบซิน (rhodopsin) เมื่อมีแสง
สว่างสารโรดอบซินจะเปลี่ยนไปเป็น trans-retinal กับออบซินอิสระและพลังงาน (รูปที่ 8-3)
พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานี้จะถูกนำไปสู่สมองโดยผ่านทาง optic nerve สมองจะสามารถ
บอกได้ว่าความเข้มข้นแสงที่เข้าสู่ตามีมากน้อยเพียงไรจึงทำให้มองเห็นได้ สำหรับไวตามินเอ
ในรูป trans-retinol หรือ cis-retinol จะต้องถูกเปลี่ยนเป็นรูป retinal เสียก่อนโดยเอ็นไซม์
alcohol dehydrogenase จึงจะนำไปใช้ในการมองเห็นได้ การขาดไวตามินเอทำให้เกิด
อาการตาบอดตอนกลางคืน (night blindness) และเยื่อหุ้มตาขุ่น
2. การสืบพันธุ์ สัตว์ต้องการไวตามินเอเพื่อการมองเห็นและการสืบพันธุ์ในรูปของเรตินอล
และเรตินาล ส่วนกิจกรรมด้านอื่นต้องการในรูปของกรดเรติโนอิค
3. ทำให้ mucous membrane คงรูปอยู่ได้
ไวตามิน 125