Page 123 -
P. 123
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 8
ไวตามิน
ไวตามิน เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่พบทั้งในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ สัตว์ต้องการไวตามินใน
ปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสารอาหารหลักชนิดอื่น ๆ แต่มีความจำเป็นเนื่อง-
จากไวตามินมีความสัมพันธ์กับเมแทบอลิซึมของสารอาหารหลักทั้ง คาร์โบไฮเดรท ไขมัน และ
โปรตีน (รูปที่ 8-1) โดยทำหน้าที่เป็นโคเอ็นไซม์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ โดยปกติในวัตถุดิบอาหาร
สัตว์จะมีไวตามินเป็นองค์ประกอบในปริมาณแตกต่างกัน แต่ในการประกอบสูตรอาหารสัตว์
มักไม่หวังพึ่งไวตามินที่มีอยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์เนื่องจาก
• ความผันแปรของปริมาณไวตามินแต่ละชนิดในวัตถุดิบอาหารสัตว์
• สัตว์มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากไวตามินที่อยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้
แตกต่างกัน เนื่องจากไวตามินที่พบในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์มี 2 รูปแบบคือไวตามินอิสระ
(free vitamin) และในรูปที่เกาะกับสารอื่น (bound vitamin) ซึ่งสัตว์ไม่สามารถนำมาใช้
ประโยชน์ได้ทันที โดยสัดส่วนของไวตามินแต่ละรูปแบบในวัตถุดิบอาหารสัตว์จะแตกต่างกัน
• มีการสูญเสียไวตามินในระหว่างกระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ การผ่าน
ความร้อน ความชื้นหรือกรด-ด่างมีผลทำให้ไวตามินสูญเสียสภาพเร็วขึ้น
• สัตว์มีความต้องการไวตามินเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีศักยภาพในการ
เจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงขึ้น สภาพการจัดการฟาร์มมีความแออัดและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่ง-
ผลให้สัตว์เกิดความเครียดเพิ่มขึ้น ทำให้ไวตามินที่ได้รับจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่เพียงพอ
ไวตามินที่สัตว์ต้องการเหล่านี้สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามคุณสมบัติในการละลาย ดังนี้
1. ไวตามินที่ละลายในไขมัน (fat-soluble vitamins) มีคุณสมบัติที่สำคัญคือละลายได้ดี
ในไขมัน ดังนั้นในการดูดซึมไวตามินกลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกายสัตว์จึงจำเป็นต้องอาศัยไขมันในอา-
หารด้วย ไวตามินในกลุ่มนี้คือ ไวตามินเอ ดี อี และเค
ไวตามิน 120