Page 118 -
P. 118
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
glycerol-3-phosphate
fatty acyl-CoA
1-acylglycerol-3-phosphate
fatty acyl-CoA
cardiolipin 1,2-diacylglycerol-3-phosphate monoacylglycerol
phosphatidylglycerol 3- Pi
phosphatidyllinositol fatty acyl-CoA
1,2-diacylglycerol phosphatidylcholine
fatty acyl-CoA phosphatidylethanolamine
triacylglycerol (triglyceride)
phosphatidylcholine
รูปที่ 7-11: กระบวนการสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์
ที่มา: Drackley (2000)
2.2 การสลายไตรกลีเซอร์ไรด์ กลไกการสลายไขมันจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนต่าง
ๆ อาทิ อิพิเนฟฟริน (epinephrine) และสารกลุ่มเบต้า-อะโกนีสต์ (-adrenergic
agonists) โดยมักเกิดขึ้นที่ส่วน adipose tissue ด้วยการทำงานของเอ็นไซม์ลิโปโปรตีนไล
เปส (LPL) ทำการสลายไตรกลีเซอร์ไรด์ในส่วนของไคโลไมครอนและลิโปโปรตีนชนิด VLDL
ได้เป็นกลีเซอรอลและกรดไขมันซึ่งร่างกายนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยกลีเซอรอลจะให้
พลังงานผ่านวิถีไกลโคไลซีสในขณะที่กรดไขมันจะให้พลังงานผ่านวิถีเบต้า-ออกซิเดชัน
ปฏิกิริยาการออกซิเดชันของไขมัน
อาหารที่ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในสัดส่วนที่สูง หรือบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ของ
เนื้อเยื่อสัตว์ซึ่งประกอบด้วยฟอสโฟลิปิดที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในโครงสร้าง จะเกิด-
ปฏิกิริยาออกซิเดชันเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนได้สารอนุมูลอิสระ (free radical) และสาร
เปอร์ออกไซด์ (peroxide) สารอนุมูลอิสระนี้เป็นโมเลกุลที่ขาดอิเลคตรอนไปจึงทำให้
กลายเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร ซึ่งจะไปแย่งจับอิเลคตรอนของโมเลกุลข้างเคียงเกิดเป็นปฏิกิริยา
ลิปิด 115