Page 113 -
P. 113

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                     การใช้ประโยชน์จากไขมันในร่างกายสัตว์


                     1. การสร้างและการสลายกรดไขมัน มักเกิดขึ้นที่ตับ ต่อมน้ำนม และ adipose tissue

                     กระบวนการสร้างกรดไขมันในอวัยวะดัง-กล่าวจะเหมือนกัน แต่สัดส่วนการสังเคราะห์ในแต่

                     ละอวัยวะจะแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ เช่นสัตว์จำพวกหนูจะเกิดขึ้นที่ตับและ adipose

                     tissue ในสัดส่วนเท่ากัน ในไก่จะเกิดขึ้นส่วนใหญ่ที่ตับ ส่วนสุกรจะเกิดที่ adipose tissue

                     และสัตว์ที่อยู่ในระยะให้น้ำนมจะเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำนม



                            1.1 การสร้างกรดไขมัน (lipogenesis) ร่างกายใช้อะซิติล-โคเอที่ได้จาก

                     กระบวนการไกลโคไลซีสหรือจากการสลายกรดอะมิโนบางชนิด ตลอดจนการสลายไขมันใน

                     สัตว์กระเพาะเดี่ยวหรือสารเบต้าไฮดรอกซีบิวทิเรท (-hydroxybutyrate) ในสัตว์กระเพาะ

                                                                                       -
                     รวมเป็นสารตั้งต้น โดยอะซิติล-โคเอจะทำปฏิกิริยากับไบคาร์บอเนท (HCO ) (รูปที่ 7-8) ได้
                                                                                       3
                     เป็นมาโลนิล-โคเอ (malonyl-CoA) (ขั้นตอนที่ 1) ซึ่งอะซิติล-โคเอและมาโลนิล-โคเอจะทำ

                     ปฏิกิริยากับโปรตีนที่เป็นตัวพาหมู่เอซิล (acyl carrier protein: ACP) ได้เป็นอะซิติลเอซีพี

                     (acetyl-ACP) และมาโลนิลเอซีพี (malonyl-ACP) ตามลำดับ (ขั้นตอนที่ 2) จากนั้นอะซิติล

                     เอซีพีกับมาโลนิลเอซีพีจะทำปฏิกิริยาตามขั้นตอนต่าง ๆ จนได้กรดไขมันที่มีคาร์บอน 4

                     อะตอม (butyryl-ACP) กรดไขมันดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนคาร์บอนขึ้นอีกทีละ 2 อะตอมจาก


                     การทำปฏิกิริยากับมาโลนิล-โคเอทีละ 1 โมเลกุล จนได้กรดไขมันที่มีคาร์บอน16 อะตอม

                     (C ) ร่างกายสัตว์สามารถสร้างกรดไขมันที่มีความยาวคาร์บอนได้สูงสุด 18 อะตอม แต่มี
                       16
                     ข้อจำกัดในการเปลี่ยน C  เป็น C  และ C  นอกจากนี้สัตว์มีข้อจำกัดในการสร้างกรดไขมัน
                                          18
                                                           22
                                                   20
                     ชนิดไม่อิ่มตัวจากกรดไขมันอิ่มตัวเช่นเดียวกัน สัตว์สามารถสร้างกรดปาล์มมิโตเลอิค
                     (palmitoleic acid: C ) จากกรดปาล์มมิติค (palmitic acid: C  ) และกรดโอลิอิค
                                         16:1
                                                                                 16:0
                     (oleic acid: C ) จากกรดสเตียริค (stearic acid: C )  แต่ไม่สามารถสร้างกรดลิโนเลอิค
                                                                    18:0
                                  18:1
                     กรดลิโนเลนิคและกรดอะราชิโดนิคในร่างกายได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารอย่างเพียงพอ

                     แต่สัตว์สามารถเพิ่มความยาวของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่ได้รับจากอาหารได้ เช่น ร่างกาย

                     สามารถใช้กรดลิโนเลนิคและกรดลิโนเลอิคเป็นสารต้นตอในการสร้างกรดไขมัน C , C
                                                                                                   22:5
                                                                                              20:5
                     และ C 22:6



                     ลิปิด                                                                           110
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118