Page 108 -
P. 108
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกิดเป็น ไคโลไมครอน (chylomicron) ซึ่งจัดเป็นลิโปโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีขนาดค่อนข้าง
ใหญ่ (ประมาณ 50-500 นาโนเมตรในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นไตร
กลีเซอร์ไรด์ถึง 85-95% (ตารางที่ 7-3) ไคโลไมครอนจะออกจากผนังลำไส้ (mucosal cell)
ด้วยวิธี “pinocytosis” และเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) แล้วเดินทางเข้าสู่
thoracic duct ก่อนเข้ากระแสเลือดเพื่อไปยังตับ เนื้อเยื่อสะสมไขมัน (adipose tissue)
และเนื้อเยื่ออื่น ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายในกรณีที่ร่างกายขาด
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท ในระหว่างการเดินทางไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมายนั้นไคโลไมครอนจะ
ถูกย่อยด้วยเอ็นไซม์ลิโปโปรตีนไลเปส (lipoproteinlipase: LPL) จนมีสัดส่วนของไตรกลี
เซอร์ไรด์ลดลงได้เป็น VLDL (very low density lipoprotein) และ LDL (low density
lipoprotein) ตามลำดับ ลิโปโปรตีนไลเปสนี้พบมากในเนื้อเยื่อบางชนิดเช่น adipose tissue
ต่อมน้ำนม หัวใจและกล้ามเนื้อ ผลจากการย่อย LDL ได้คอเลสเตอรอลซึ่งจะถูกนำกลับไปที่
ตับหรือถูกนำกลับไปให้กับลิโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (high density lipoprotein:
HDL) ที่สร้างจากตับเพื่อทำหน้าที่ในการรับคอเลสเตอรอลส่วนเกินแล้วเปลี่ยนเป็นคอเลส-
เตอรอลเอสเทอร์ HDLนี้จะนำคอเลสเตอรอลไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ หรือนำกลับไปยังตับเพื่อ
เปลี่ยนเป็นน้ำดีต่อไป (รูปที่ 7-6)
สำหรับสัตว์ปีก การสร้างลิโปโปรตีนจะอยู่ในรูปของ VLDL ซึ่งมีปริมาณของไตรกลีเซอร์ไรด์
น้อยกว่าไคโลไมครอนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม VLDL นี้จะดูดซึมเข้าสู่ตับโดยตรงทาง portal
vein เนื่องจากการพัฒนาการของระบบน้ำเหลืองในสัตว์ปีกยังไม่สมบูรณ์
ลิปิด 105