Page 104 -
P. 104
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรดไขมันที่จำเป็นเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในร่างกายสัตว์ โดยเป็นองค์ประกอบของฟอสโฟลิ
ปิดที่พบบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ และเกี่ยวข้องกับการขนส่งไขมันในร่างกาย นอกจากนั้นยังเป็น
สารต้นตอของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (eicosanoids) ที่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมน (hormone
like compounds) ในร่างกาย อาทิ สารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) ที่มีบทบาท
ในการควบคุมความดันโลหิต สารทรอมโบแซน (thromboxanes) ที่เกี่ยวข้องกับการ
แข็งตัวของเลือด และสารลิวโคทริอีน (leukotrienes) ที่มีผลต่อการตอบสนองของระบบ
ภูมิคุ้มกันและกระบวนการอักเสบ (รูปที่ 7-4) ซึ่งสารไอโคซานอยด์ที่สร้างจากกรดไขมันใน
กลุ่ม -3 กับ -6 จะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างกัน จึงทำให้สัดส่วนระหว่างกรด
ไขมันในกลุ่ม -6 กับ -3 ที่สัตว์ได้รับจากอาหารมีผลต่อชนิดและสัดส่วนของสารกลุ่มไอ
โคซานอยด์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย
Feed
Linoleic acid (-6) Linolenic acid (-3)
-Linolenic acid
Dihomo--linolenic acid Arachidonic acid (-6) Eicosapentenoic acid
1-series 2-series 3-series
Prostaglandins & Prostaglandins, Prostaglandins,
Thromboxanes Prostacyclins& Prostacyclins &
3-series Thromboxanes Thromboxanes
Leukotrienes 3-series leukotrienes
รูปที่ 7-4: การสร้างสารกลุ่มไอโคซานอยด์จากกรดไขมันที่จำเป็น
ที่มา: McDonald et al. (2002)
3. แหล่งของไวตามินที่ละลายในไขมัน คือไวตามินเอ ดี อี และเค การดูดซึมไวตามินเหล่านี้
จำเป็นต้องอาศัยไขมัน
ลิปิด 101