Page 106 -
P. 106
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• การดูดซึมไขมัน
เกิดขึ้นมากที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่การดูดซึมไขมันในสัตว์
ปีกสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณดูโอดินัมและไอเลียม กลีเซอรอลและกรดไขมันที่มีสายโซ่สั้น
และสายโซ่ปานกลางคือมีคาร์บอนระหว่าง 2–10 อะตอม จะดูดซึมด้วยวิธี passive
transport เข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับโดยตรงทาง portal blood system ส่วนกรดไขมัน
อิสระและโมโนกลีเซอรอลที่มีสายโซ่ยาวจะรวมตัวกับไลโซเลซิตินและคอเลสเตอรอลได้เป็นไม
เซลล์ (micelles) ขนาด ~5-10 ไมครอนและดูดซึมเข้าสู่เซลล์โดยใช้วิธีการแพร่ (diffusion)
หลังจากเข้าสู่เซลล์ลำไส้เล็กแล้ว กรดไขมันอิสระจะรวมตัวกับโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ
ขนาด 12-15 KDa ซึ่งจะช่วยให้ไขมันเหล่านี้ดูดซึมได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันความเป็นพิษของ
กรดไขมันอิสระต่อเซลล์
ในขั้นตอนการดูดซึมนั้นเกลือน้ำดีส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกดูดซึมด้วย แต่จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
ส่วนไอเลียมและเดินทางไปยังตับเพื่อนำกลับมาใช้ในการสร้างไมเซลล์ใหม่ต่อไป เกลือน้ำดี
บางส่วนจะไม่ถูกดูดซึมและขับออกทางมูลสัตว์ ส่วนกรดไขมันสายโซ่ยาวที่ถูกดูดซึมเข้าสู่
เซลล์ของลำไส้เล็กจะถูกนำไปใช้ในการสังเคราะห์ไตรกลีเซอร์ไรด์ใหม่ (triglyceride
resynthesis) (รูปที่ 7-5) ดังนั้นไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สร้างขึ้นใหม่จะประกอบด้วยกรดไขมันสาย
โซ่ยาวเนื่องจากกรดไขมันสายโซ่สั้นและสายโซ่ปานกลางได้เดินทางไปยังตับแล้ว
• ปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยได้ของไขมัน
1. ชนิดและความยาวของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบ ค่าการย่อยได้ของกรดไขมันชนิด
อิ่มตัวจะลดลงเมื่อความยาวของสายโซ่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามค่าการย่อยได้จะเพิ่มขึ้นเมื่อกรด
ไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่ที่ตำแหน่งคาร์บอนที่ 2 ของไตรกลีเซอร์ไรด์ เนื่องจากภายหลังจากการ
ย่อยด้วยเอ็นไซม์ไลเปสแล้วจะสามารถดูดซึมในรูปของ 2- monoacylglycerol ได้ ส่วนกรณี
กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจะมีค่าการย่อยได้เพิ่มขึ้นเมื่อกรดไขมันมีความไม่อิ่มตัวหรือมีพันธะคู่
เพิ่มขึ้น
ลิปิด 103