Page 111 -
P. 111
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
CH
2
(CH ) CH
2 7
3
CH + H (CH )
2 16
CH H COOH
(CH )
2 7
COOH
Oleic acid Stearic acid
รูปที่ 7-7: ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันโดยจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน
ที่มา: McDonald et al. (2002)
นอกจากนี้การเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันโดยจุลินทรีย์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครง-
สร้างของกรดไขมันในอาหารซึ่งมักมีโครงสร้างแบบ cis จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบ trans จึงทำให้
อาจตรวจพบกรดไขมันชนิด trans ได้ในกระเพาะรูเมน นอกจากนี้จุลินทรีย์ในรูเมนยัง
สามารถสังเคราะห์กรดไขมันบางชนิดโดยเฉพาะกรดไขมันที่มีสายโซ่เป็นแขนง (branch-
chained fatty acid) ที่มีจำนวนคาร์บอนเป็นเลขคี่ (C -C ) อีกด้วย
15 17
จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากไขมันได้จำกัด จึงจำเป็นต้อง
มีการจำกัดปริมาณไขมันในอาหารสัตว์กระเพาะรวมให้ต่ำกว่า 5% ในสูตรอาหาร หากระดับ
ไขมันในอาหารสูงกว่า 10% จะมีผลกระทบต่อการทำงานของจุลินทรีย์และส่งผลต่อเนื่องทำ
ให้การใช้ประโยชน์ของเยื่อใยและการกินอาหารของสัตว์ลดลง นอกจากนี้ชนิดของกรดไขมัน
มีผลต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนแตกต่างกัน โดยกรดไขมันชนิดอิ่มตัวมีผลเสียน้อย
กว่ากรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ในขณะที่กรดไขมันในรูปของเกลือแคลเซียมจะมีผลเสียน้อยกว่า
กรดไขมันอิสระจึงมักใช้เป็นแหล่งเสริมไขมันในอาหารสัตว์กระเพาะรวม
ลิปิด 108