Page 119 -
P. 119
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ลูกโซ่ต่อเนื่อง ปฏิกิริยาออกซิเดชันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือระยะเริ่มต้น ซึ่งเกิด
อนุมูลอิสระขึ้น ระยะที่สองเป็นระยะการแพร่กระจาย โดยอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นสามารถทำ
ปฏิกิริยากับกรดไขมันตัวอื่นต่อไป และระยะสุดท้ายจะเกิดสารต่าง ๆ ขึ้น (รูปที่ 7-12)
ปฏิกิริยานี้หากเกิดในอาหารสัตว์ทำให้อาหารมีกลิ่นหืน (rancidity) สัตว์ไม่ชอบกินและทำให้
คุณค่าทางอาหารเสียไป หรือหากเกิดในร่างกายสัตว์จะทำให้เซลล์เสื่อมสภาพส่งผลต่อ
คุณสมบัติในการควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์ผิดปกติ ส่งผลต่อสุขภาพ
โดยรวมของสัตว์
catalyst
*
*
ระยะที่ 1 (ขั้นตอนเริ่มต้น): RH + O R + OOH
2
RH R* + H*
ระยะที่ 2 (การแพร่กระจาย): R + O RO
2
2
RO + RH RO H + R
2
2
ระยะที่ 3 (ขั้นตอนสุดท้าย): R + R R – R
หรือ RO + R RO R
2
2
RH = กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว R*, RO* = อนุมูลอิสระ
2
รูปที่ 7-12: ขั้นตอนปฏิกิริยาการออกซิเดชันของไขมัน
ที่มา: Abel (1993)
หากเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดสารประกอบบางชนิด เช่นแอลดี
ไฮด์ (aldehyde) กรด (acids) และสารพิษบางชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ การออกซิเดชัน
จะเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้นเมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยาเช่น ความร้อน แสงแดด และแร่ธาตุบางชนิด
(เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส) โดยปกติร่างกายมีกลไกในการควบคุมสารอนุมูลอิสระที่เกิด-
ขึ้นจากการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่ได้รับจากอาหาร เช่นไวตามินอี ไว
ตามินซีและสารกลุ่มคาโรทินอยด์ หรือจากการทำงานของเอ็นไซม์บางชนิดในร่างกายที่
ลิปิด 116