Page 146 -
P. 146
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และช่วยให้มีการดึงแคลเซียมและฟอสฟอรัสไป
สะสมในกระดูกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดต่ำลง
Hypocalcaemia cholecalciferol: D 3 Hypercalcaemia
ที่ตับ
ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์หรือต่อม ultimobranchial
ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ 25 (OH)D 3 แคลซิโทนิน
1,25 (OH 2)D 3 ที่ไต 24,25 (OH 2)D 3
• กระตุ้นการดูดซึมที่ลำไส้ • ยับยั้งการทำงานของ
• กระตุ้นการสลายจากกระดูก ฮอร์โมนพาราไทรอยด์
• เพิ่มการดูดซึมกลับที่ไต • เพิ่มการสะสมในกระดูก
รูปที่ 9-2: กลไกการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด
โดยปกติสัตว์สามารถควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายให้สมดุลได้ แต่ในกรณี
ที่สัตว์ได้รับแร่ธาตุทั้งสองจากอาหารไม่เพียงพอเป็นเวลานานจะแสดงอาการขาด ซึ่งลักษณะ
อาการขาดจะเหมือนกับกรณีการขาดไวตามินดี หรือในบางสภาวะที่สัตว์มีความต้องการ
แคลเซียมค่อนข้างสูง เช่น ไก่ระยะไข่ แคลเซียมในกระดูกเป็นแหล่งสำรองในการสร้างเปลือก
ไข่ แต่หากได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอเป็นเวลานานไข่จะเปลือกบาง และแม่ไก่เกิด
อาการกระดูกเปราะ นอกจากนี้ในโคนมเกิด“อาการไข้นม (milk fever)” ซึ่งเป็นภาวะที่
ร่างกายมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ มักเกิดกับโคนมหลังคลอดใหม่ ๆ เนื่องจากแม่โคมีการ
ผลิตน้ำนมมาก จึงมีการดึงแคลเซียมไปใช้ในการสร้างน้ำนมมากทำให้ระดับแคลเซียมในเลือด
ลดลง สัตว์มีอาการกล้ามเนื้อกระตุกและเป็นอัมพาต การรักษา โดยการฉีดแคลเซียมบอโร-
กลูโคเนท (Ca-borogluconate) เข้าเส้นเลือดเพื่อเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดอย่างรวดเร็ว
แร่ธาตุ 143