Page 154 -
P. 154
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• ซิลีเนียม (Se) เป็นแร่ธาตุที่มีหน้าที่ในร่างกายคล้ายคลึงกับไวตามินอีในการป้องกัน
ปฏิกิริยาการออกซิเดชันของไขมันในร่างกาย โดยซิลีเนียมเป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์กลู-
ตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase: GSH-Px) ซึ่งทำงานเป็นสารป้องกัน
การออกซิเดชันในบริเวณไซโตพลาสซึมของเซลล์ โดยการทำงานร่วมกับโปรตีนกลูตาไธโอน
ในรูปรีดิวส์ (reduced glutathione: GSH) ในปฏิกิริยาการรีดักชันของเปอร์ออกไซด์ที่ได้
จากการออกซิเดชันของกรดไขมันให้เปลี่ยนเป็นน้ำและสารกลูตาไธโอนเปลี่ยนเป็นรูป
ออกซิไดซ์ (oxidized glutathione: GSSG) และเอ็นไซม์กลูตาไธโอนรีดักเตส (glutathione
reductase) จะทำการเปลี่ยน GSSG เป็น GSH เพื่อใช้ในการลดสารอนุมูลอิสระต่อไป (รูปที่
9-7)
reduced glutathione (GSH)
NADP + H O
2 2
glutathione reductase (FAD) GSH-Px (Se)
NADPH + H + Oxidized glutathione (GSSG) H O
2
รูปที่ 9-7: กลไกการทำงานของเอ็นไซม์ glutathione peroxidase
ซีลีเนียมที่ใช้ในอาหารสัตว์มี 2 รูปแบบคือรูปสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ซึ่งสัตว์สามารถใช้
+4
ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ซีลีเนียมรูปอนินทรีย์เช่นซีลีไนท์ (selenite: Se ) หรือซีลีเนท
+6
(selenate: Se ) จะสามารถดูดซึมโดยตรงจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเปลี่ยนเป็นซีลี
-2
ไนด์ (Se ) ซึ่งสามารถจับกับโปรตีนในพลาสมาและเคลื่อนย้ายสู่ตับ เพื่อใช้เป็นแหล่งของซีลี
โนโปรตีน (selenoprotein) ซีลีเนียมในรูปอนินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่ร่างกายจะใช้ประโยชน์
ได้น้อยและถูกขับออกทางไต ส่วนซีลีเนียมอินทรีย์ที่จับกับกรดอะมิโนบางชนิด เช่น ซีลีโน
เมทไธโอนีน มักพบในพืชและยีสต์จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในรูปของซีลีโนอะมิโน แล้ว
เดินทางสู่ตับเพื่อนำไปใช้เป็นซีลีโนโปรตีน หรือไปสะสมในเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้ด้วยการจับกับ
โปรตีนในเนื้อเยื่อเหล่านั้น (รูปที่ 9-8)
แร่ธาตุ 151