Page 156 -
P. 156
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับแร่ธาตุทองแดง เกลือซัลเฟตและแร่ธาตุทังสเตน (tungsten) หากในอาหารมีแร่ธาตุ
ดังกล่าวในระดับสูงจะทำให้เกิดการดูดซึมของโมลิบดินัมลดลงและเพิ่มการขับโมลิบดินัมออก
จากร่างกาย มีผลให้การเจริญเติบโตลดลงและระดับเอ็นไซม์ xanthine oxidase ในเนื้อเยื่อ
ลดลง และหากสัตว์ได้รับโมลิบดินัมสูงเกินไปจะทำให้สัตว์แสดงอาการขาดแร่ธาตุทองแดงได้
เช่นกัน
• โครเมียม (Cr) เป็นแร่ธาตุที่พบระดับต่ำในร่างกายสัตว์ โดยพบมากที่ม้าม ไต และลูก
อัณฑะ โครเมียมเป็นองค์ประกอบของสาร GTF (Glucose Tolerance Factor) ซึ่งมีผล
ทำให้อินซูลินสามารถจับกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์ได้ดีขึ้น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการ
ทำงานของอินซูลิน และโครเมียมยังมีบทบาทต่อการสังเคราะห์โปรตีน การสะสมไขมันใน
ร่างกาย ตลอดจนควบคุมความสมดุลของระดับคอเลสเตอรอล โครเมียมในรูปอนินทรีย์มี 2
6+
3+
รูปแบบคือ ไตรวาเลนท์ (Cr ) และเฮกซาวาเลนท์ (Cr ) โดยรูปเฮกซาวาเลนท์ละลายได้
ดีกว่าและมีความเป็นพิษต่อสัตว์สูงกว่าในรูปไตรวาเลนท์ ดังนั้นโครเมียมรูปเฮกซาวาเลนท์
จะถูกเปลี่ยนเป็นรูปไตรวาเลนท์ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ก่อนจึงนำไปใช้ประโยชน์ใน
ร่างกาย ส่วนโครเมียมในรูปอินทรีย์ซึ่งเป็นโครเมียมที่เกาะกับไวตามินหรือกรดอะมิโนทำให้มี
ความคงตัวดีขึ้นส่งผลให้ค่าการย่อยได้สูงกว่าในรูปของสารอนินทรีย์ จึงมีการใช้เพื่อปรับปรุง
คุณภาพซากสุกรขุนและเพิ่มสมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์กันอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไป
สัตว์จะได้รับโครเมียมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างเพียงพอจึงไม่พบลักษณะอาการขาด
• ฟลูออรีน (F) เป็นแร่ธาตุที่พบในปริมาณที่ต่ำมาก ร้อยละ 95 ของฟลูออรีนในร่างกาย
สัตว์พบที่กระดูกและฟัน มีบทบาทช่วยเพิ่มความแข็งแรงของฟัน สัตว์ได้รับฟลูออรีนจาก
อาหารและน้ำเพียงพอกับความต้องการจึงไม่จำเป็นต้องเสริม แต่ควรระมัดระวังมิให้สัตว์
ได้รับมากเกินไปเพราะจะเกิดเป็นพิษต่อสัตว์ได้ ในสัตว์ที่กำลังเติบโตจะทำให้รูปร่างและความ
หนาของกระดูกและฟันผิดปกติ โดยปกติสัตว์มักได้รับฟลูออไรด์เกินความต้องการจากการใช้
แหล่งเสริมฟอสฟอรัสที่ผลิตจากหินฟอสเฟตที่มีฟลูออไรด์สูงหรือจากการกินพืชสดที่มีการ
ปนเปื้อน
แร่ธาตุ 153