Page 160 -
P. 160
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สัตว์ใช้สารอาหารที่ได้รับในการดำรงชีวิตและการให้ผลผลิตโดยใช้ คาร์โบไฮเดรทและไขมัน
เป็นแหล่งพลังงานสำหรับกิจกรรมต่างๆ ส่วนโปรตีนเป็นแหล่งให้กรดอะมิโนสำหรับกระบวน-
การสังเคราะห์โปรตีนขึ้นมาใหม่ในร่างกาย ส่วนไวตามินและแร่ธาตุมีบทบาทช่วยให้เมแทบอลิ
ซึมของสารอาหารหลักดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินโภชนะในอาหารจึงมักเน้นใน
ส่วนของพลังงานและโปรตีนเป็นหลัก
การประเมินคุณค่าของพลังงานในอาหาร
ร่างกายสัตว์มีความต้องการพลังงานเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาทิ
การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ การควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ การเคลื่อนไหว ตลอดจนการ
เจริญเติบโตและการให้ผลผลิต พลังงานเหล่านี้สัตว์ได้รับจากคาร์โบไฮเดรทในอาหารเป็นหลัก
และในสภาพที่สัตว์ขาดอาหารแต่ร่างกายยังมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ
โดยเฉพาะเพื่อการดำรงชีพ พลังงานดังกล่าวจะได้มาจากการสลายสารอาหารที่สะสมใน
ร่างกาย โดยเรียงลำดับจากไกลโคเจน ไขมัน และโปรตีน ตามลำดับ แต่ทั้งนี้พลังงานที่สัตว์
ได้รับในภาวะนี้อาจไม่เพียงพอกับการสร้างผลผลิตหรือการเจริญเติบโต ดังนั้นเพื่อให้สัตว์
สามารถดำเนินชีวิตและให้ผลผลิตตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารอย่าง
เพียงพอ
หน่วยวัดพลังงาน
การวัดพลังงานจากอาหารโดยตรงนั้นกระทำได้ยาก จึงได้มีการวัดในรูปของพลังงานความร้อน
แทน หน่วยที่นิยมใช้ คือ แคลอรี (calory: cal) โดยพลังงานความร้อน 1 แคลอรี หมายถึง
ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส จาก 14.5 เป็น 15.5
องศาเซลเซียส แคลอรีเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด หน่วยที่ใหญ่ขึ้นไป คือ กิโลแคลอรี (Kcal) ซึ่ง
เท่ากับ 1,000 แคลอรี่ และเมกะแคลอรี (Mcal) ซึ่งเท่ากับ 1,000 กิโลแคลอรี่ ในบาง
ประเทศนิยมวัดค่าพลังงานโดยอาศัยไฟฟ้าและมีหน่วยเป็นจูล (joule) โดยสามารถคำนวณ
เปลี่ยนเป็นแคลอรี่ได้ ทั้งนี้ 1 จูล (joule) มีค่าเท่ากับ 0.238 แคลอรี
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร 157