Page 159 -
P. 159
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 10
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหารสัตว์มีความจำเป็น โดยเป็นการตรวจสอบคุณภาพของ
วัตถุดิบอาหารสัตว์และอาหารสัตว์ เพื่อให้สัตว์ได้รับสารอาหารตามความต้องการของร่างกาย
โดยสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ
1. การประเมินคุณค่าโภชนะโดยวิธีการทางเคมี (chemical evaluation) เป็นการประเมิน
ในเชิงปริมาณ ด้วยการวิเคราะห์โภชนะที่มีอยู่ในวัตถุดิบหรืออาหารสัตว์ในห้องปฏิบัติการ
วิธีการนี้สะดวก รวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อย สามารถบ่งบอกถึงปริมาณสารอาหารที่มีทั้งหมด
แต่ไม่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณสารอาหารที่สัตว์จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น
1.1 การวิเคราะห์สารอาหารโดยประมาณ (proximate analysis) เช่น โปรตีน ไขมัน
เยื่อใย ฯลฯ
1.2 การวิเคราะห์กรดอะมิโน (amino acid analysis)
1.3 การวิเคราะห์พลังงานรวม (bomb calorimeter)
1.4 การวิเคราะห์กรดไขมัน (fatty acid analysis)
2. การประเมินคุณค่าทางโภชนะโดยวิธีชีวภาพ (biological evaluation) เป็นการประเมิน
เชิงคุณภาพ ด้วยการวัดการใช้ประโยชน์ของสารอาหารจากตัวสัตว์โดยตรง วิธีการนี้ให้ค่า
โภชนะที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่มีข้อเสียคือมีวิธีการยุ่งยาก
และซับซ้อน เสียค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลานานกว่าวิธีการทางเคมี เช่น
2.1 การศึกษาค่าการย่อยได้จากตัวสัตว์ (in vivo digestibility)
2.2 การศึกษาการคงอยู่ของโภชนะในร่างกายสัตว์ (retention or balance study)
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร 156