Page 162 -
P. 162
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พลังงานที่ย่อยได้ (Digestible energy: DE) การใช้ค่าพลังงานรวมของอาหารในการ
ประมาณค่าพลังงานที่สัตว์จะนำไปใช้ประโยชน์นั้นยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่ออาหารเหล่านี้เข้า
ไปในร่างกายสัตว์แล้วจะมีสารอาหารบางส่วนที่ไม่ได้ถูกย่อยและถูกขับถ่ายออกทางมูล ดังนั้น
พลังงานจากสารอาหารส่วนที่ถูกย่อยและเข้าสู่ร่างกายสัตว์จะได้จากการนำเอาพลังงานจาก
ส่วนที่สูญเสียออกทางมูลไปหักออกจากค่าพลังงานทั้งหมดที่มีในอาหาร (รูปที่ 10-1) ซึ่งค่าที่ได้
นี้เรียกว่า ค่าพลังงานที่ย่อยได้แบบปรากฏ (apparent digestible energy: DE) ดัง
สมการที่ 1 ทั้งนี้เนื่องจากพลังงานที่ขับออกทางมูลไม่ได้มาจากอาหารเพียงแหล่งเดียว แต่ได้
รวมพลังงานที่ได้จากส่วนที่ขับจากร่างกายของสัตว์เองหรือที่เรียกว่า endogenous
substances ที่มาจากส่วนของเนื้อเยื่อที่หลุดลอกหรือเอนไซม์ที่หมดอายุในระบบทางเดิน
อาหาร ซึ่งจะรวมอยู่กับอาหารที่ไม่ได้ถูกย่อยและขับออกทางมูล หากต้องการทราบค่าพลังงาน
ที่ย่อยได้ที่มาจากอาหารเพียงอย่างจำเป็นต้องทราบค่า endogenous substances โดย
สามารถวัดได้โดยการเก็บมูลจากสัตว์ในสภาพที่สัตว์ไม่ได้รับอาหารเลย เมื่อนำค่าพลังงานที่ได้
จากส่วน endogenous substance มาหักออกจากพลังงานที่ขับออกทางมูลทั้งหมดจึงจะได้
ค่าพลังงานย่อยได้ที่แท้จริง (true digestible energy) ดังสมการที่ 2
พลังงานที่ย่อยได้ปรากฏ = พลังงานทั้งหมดที่สัตว์ได้รับ – พลังงานที่ขับออกทางมูล (1)
พลังงานที่ย่อยได้แท้จริง = พลังงานทั้งหมดที่สัตว์ได้รับ – (พลังงานที่ขับออกทางมูล-พลังงาน
จาก endogenous substances) (2)
ค่าพลังงานที่ย่อยได้นี้เป็นค่าที่บ่งบอกถึงค่าพลังงานที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ในระดับหนึ่ง
และให้ค่าที่ใกล้เคียงกับความต้องการของสัตว์โดยเฉพาะสัตว์กระเพาะเดี่ยว จึงมีการนำมาใช้
ประมาณค่าพลังงานที่สัตว์ต้องการในอาหารสัตว์ กรณีสัตว์ปีกซึ่งมีการขับถ่ายกรดยูริคร่วมกับ
มูลจึงอาจทำให้การหาค่าพลังงานที่ย่อยได้กระทำได้ยาก ดังนั้นจึงมักใช้ค่าพลังงานที่ใช้
ประโยชน์ได้ (ME) ในการกำหนดค่าพลังงานในอาหารสัตว์มากกว่า
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร 159