Page 164 -
P. 164
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้นี้นิยมใช้ในการประมาณค่าพลังงานที่สัตว์ต้องการจากอาหาร
โดยเฉพาะในอาหารสุกรและสัตว์ปีก โดยมีค่าที่ใกล้เคียงกับความต้องการของสัตว์มากกว่าค่า
DE แต่มีความยุ่งยากมากกว่า เพราะต้องทราบค่าพลังงานส่วนที่ขับออกทางปัสสาวะ ใน
ปัจจุบันจึงได้มีการคำนวนค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ จากค่าปริมาณของสารอาหารที่ได้จาก
การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (proximate analysis) คูณด้วยปัจจัยคงที่ (factor) ซึ่งสามารถ
ประมาณค่า ME ได้ทั้งสำหรับสุกรและสัตว์ปีก
สำหรับสุกร (GfE, 1987 อ้างโดย Pallauf, 2000)
ME (MJ/kg DM) = (0.0223 x g CP) + (0.0341 x g CEF) + (0.0170 x g starch) +
(0.0168 x g sugar) + (0.0074 x g OR) – (0.0109 x g CF)
โดย g CP = ปริมาณโปรตีน (กรัม/กก. น้ำหนักแห้ง)
g CEF = ปริมาณไขมัน (กรัม/กก. น้ำหนักแห้ง)
g CF = ปริมาณเยื่อใย (กรัม/กก. น้ำหนักแห้ง)
g starch = ปริมาณแป้ง (กรัม/กก. น้ำหนักแห้ง)
g sugar = ปริมาณน้ำตาลซูโครส (กรัม/กก. น้ำหนักแห้ง)
g OR = organic rest (กรัม) = (g organic matter–g CP–g CEF–g starch–g CF)
g organic matter = (Dry matter – crude ash)
สำหรับสัตว์ปีก (World’s Poultry Science Association, 1985 อ้างโดย Pallauf,
2000)
ME (MJ/kg DM) = (0.01551 x g CP) + (0.03431 x g CEF) + (0.01669 x g starch) +
(0.01301 x g Sucrose)
ตัวอย่างการคำนวณค่า ME ในมันสำปะหลังสำหรับสุกร
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร 161