Page 168 -
P. 168
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งก็คือระบบพลังงานสุทธิเพื่อการสร้างนม (NE ) ที่ใช้ในการประมาณค่าความต้องการพลังงาน
L
ในอาหารโคนมนั่นเอง
5. ระบบ TDN (Total Digestible Nutrient) เป็นระบบพลังงานที่มีการใช้ในบางประเทศ
เพื่อการประมาณค่าพลังงานในอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะรวม ซึ่งในความจริงแล้ว ค่า TDN นี้
เป็นค่าที่แสดงถึงผลรวมของสารอาหารที่ย่อยได้ทั้งหมดในอาหาร 100 กิโลกรัม โดยสามารถ
คำนวณได้ดังนี้
TDN = โปรตีนที่ย่อยได้ + เยื่อใยที่ย่อยได้ + คาร์โบไฮเดรทละลายน้ำที่ย่อยได้
+ (2.25 x ไขมันที่ย่อยได้)
การที่ใช้ค่าคงที่ 2.25 คูณไขมันที่ย่อยได้ เพราะค่าพลังงานจากไขมันเท่ากับ 2.25 เท่าของคาร์
โบไฮเดรท หน่วยของ TDN เป็นกิโลกรัมในอาหาร 100 กิโลกรัม หรือ เปอร์เซ็นต์นั่นเอง ค่า
TDN นี้สะดวกในการหาค่า เพียงทราบค่าการย่อยได้ของสารอาหารต่าง ๆ จะสามารถนำมา
คำนวณได้ อย่างไรก็ตามระบบ TDN นี้ มีข้อเสียไม่เหมาะสมหลายประการ ดังนี้
• TDN เป็นค่าบ่งบอกถึงค่าพลังงานแต่กลับมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือกิโลกรัม/100
กิโลกรัมอาหาร แทนที่จะเป็นหน่วยพลังงานดังเช่น แคลอรีหรือจูล
• TDN มีข้อบกพร่องเมื่อใช้เปรียบเทียบวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีองค์ประกอบต่างกันมาก
ๆ เช่น อาหารข้นกับอาหารหยาบ เนื่องจากระบบนี้ประเมินค่าพลังงานของอาหารหยาบที่มี
คุณภาพต่ำได้ค่าสูงเกินความเป็นจริง เพราะระบบ TDN ไม่ได้คำนึงถึงการสูญเสียพลังงานในรูป
ของก๊าซมีเทนในกรณีสัตว์กระเพาะรวม และการสูญเสียความร้อน (Heat loss) ซึ่งการสูญเสีย
ทั้ง 2 กรณีนี้เกิดในกรณีอาหารหยาบมากกว่าอาหารข้น
• TDN บอกปริมาณพลังงานที่ย่อยได้ในอาหาร โดยคิดว่าค่าที่ได้จากโปรตีนและคาร์
โบไฮเดรทมีค่าเท่ากัน แต่โปรตีนให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรท (ตารางที่ 10-1)
จากข้อบกพร่องดังกล่าว ในปัจจุบันความนิยมในการใช้ระบบ TDN ในการประมาณค่าพลังงาน
ในอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะรวมจึงลดลง โดยหันไปใช้ระบบพลังงานสุทธิเพื่อการสร้างนม
และระบบพลังงานใช้ประโยชน์ได้ (ME) แทน
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร 165