Page 166 -
P. 166
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จะเห็นได้ว่าการคำนวณค่า ME นี้ ได้จากผลรวมของสารอาหารแต่ละชนิดในรูปของกรัม
น้ำหนักแห้งที่ให้พลังงานได้และลบด้วยส่วนที่สัตว์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ นั่นคือส่วนของเยื่อใย
ในอาหาร ดังนั้นเมื่อระดับเยื่อใยในอาหารสูงขึ้นจะมีผลทำให้สัตว์กระเพาะเดี่ยวใช้ประโยชน์
จากสารอาหารในอาหารลดลง อย่างไรก็ตามค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้จากการคำณวนนี้เป็น
เพียงค่าประมาณเท่านั้นและสามารถใช้ได้ดีกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการผลิต
ที่มีผลเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารอาหาร แต่สำหรับวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการผลิตเช่นการ
ทำให้สุกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการอบหรือการเอกทรูด (extrusion) ซึ่งมีผลในการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างของสารอาหารบางชนิด ทำให้สัตว์สามารถย่อยได้ดีขึ้น สูตรในการคำณวนค่า
พลังงานดังกล่าวอาจไม่เหมาะสม หรือกรณีวัตถุดิบที่มีสารต้านโภชนะที่มีผลต่อการย่อยและดูด
ซึมสารอาหาร การใช้ค่า ME จากการประมาณด้วยสูตรนี้จะไม่เหมาะสมเช่นเดียวกัน
ความร้อนเพิ่มจากอาหาร (Heat increment: HI) ค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้นี้ได้รวมเอา
ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหมักอาหาร (heat fermentation) และจากการเผาผลาญโภชนะ
(heat of nutrient metabolism) ซึ่งความร้อนทั้ง 2 ส่วนที่เกิดขึ้นนี้สัตว์จะไม่ได้ใช้ประโยชน์
เป็นความร้อนสูญเปล่า ยกเว้นกรณีที่สัตว์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิ
วิกฤติ ซึ่งในกรณีดังกล่าวความร้อนส่วนนี้จะถูกใช้ในการรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ และ
จัดว่าเป็นพลังงานเพื่อการดำรงชีพ (energy for maintenance)
สำหรับสัตว์กระเพาะรวมนั้นค่าความร้อนเพิ่มจากอาหารมีค่าสูง เนื่องจากมีความร้อนในส่วน
การหมักอาหารในกระเพาะรูเมน ดังนั้นการใช้ค่า ME ในการประมาณค่าพลังงานที่สัตว์
ต้องการเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกายจึงคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้ในบาง
ประเทศจึงมีการใช้ค่าพลังงานสุทธิ (Net energy: NE) แทน
4 พลังงานสุทธิ (Net energy: NE) ค่าพลังงานสุทธิของอาหารเป็นค่าที่ได้จากผลต่างระ-
หว่างค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของอาหารกับความร้อนเพิ่มของอาหารนั้น (NE = ME–HI)
โดยสัตว์จะนำพลังงานสุทธินี้ไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหาร 163