Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               อะไรมากคิดแล้วท าเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการคิดก็ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Search) การ

               ออกแบบ (Design) และการเลือก (Choice) เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกได้ดีที่สุด

                       2) การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (Solution) การตัดสินใจเป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มาก

               ที่สุดเท่าที่จะท าได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่
               ดีจ าเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม (Initiative) และคิด

               แบบสร้างสรรค์ (Creative thinking)

                       3) การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ จะเห็นว่าผู้บริหารในแต่ละระดับชั้นก็มีหน้าที่ใน

               การตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงจ าเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic decision) เป็นการ

               ตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จ าเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ท าให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
               องค์การที่ก าหนดไว้ ผู้บริหารระดับกลางจะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (Management decision) เป็นการ

               ตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารระดับต้นจะตัดสินใจ

               เกี่ยวกับการปฏิบัติการ (Operational decision) เป็นการตัดสินใจด าเนินการควบคุมงานให้ส าเร็จตาม

               ระยะเวลาและเป้าหมายที่ก าหนดไว้



               2.19 เทคนิคการประเมินทางตรง (Stated Preference Technique)
                       การวัดระดับมูลคาความเต็มใจที่จะจาย (Willingness to Pay: WTP) นั้นตั้งอยูบนหลักอรรถประโย

               ชนที่วา แมสินค้าจะไมมีตลาดที่เปนรูปธรรม ดังเชนสินคาสิ่งแวดลอม แตมูลคาทางเศรษฐศาสตรของสินคานั้น
               สามารถวัดไดจาก Preference ของประชาชนที่มีตอสินคาดังกลาว ในรูปของความเต็มใจที่จะจาย WTP และ/

               หรือ ความเต็มใจที่จะรับค่าชดเชย (Willingness to Accept: WTA) ตอความเปลี่ยนแปลงในทางบวก และ/

               หรือ ทางลบของสินคา โดยวิธีการวัด Preference นั้นสามารถวัดไดใน 2 แนวทาง คือ Revealed
               Preference Technique (RP) และ Stated Preference Technique (SP)

                       แนวทาง SP เป็นวิธีการที่ได้รับการคิดค้นพัฒนาเพื่อใช้ในการวิจัยตลาดของสินค้าอุปโภคและบริโภค

               ในทศวรรษ 1970 ได้ถูกน ามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอย่าง
               แพร่หลาย โดยการส ารวจข้อมูลด้วยวิธี SP เป็นการศึกษาความคิดเห็นและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย

               ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น โดยการสมมติเหตุการณที่เสมือนเกิดขึ้นจริง (Hypothetical situation)
               และการประเมินสามารถสรางสวนแบงการตลาด (Market Share) ของผลิตภัณฑใหม SP จึงถือว่าเปนเทคนิค

               ที่มีความยืดหยุนกวา RP และก าลังเปนที่นิยมในการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม และได้ถูกน าไปใช้ในงานวิจัย

               เกี่ยวกับการวิเคราะห์อุปสงค์และการตัดสินใจนโยบายสาธารณะในหลายๆงาน เช่น การวางแผนที่อยู่อาศัย
               การวางแผนนโยบายของรัฐ การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น โดยศึกษาถึงความเต็มใจที่จะจาย (WTP) หรือความ

               เต็มใจที่จะรับคาชดเชย (WTA) ของบุคคลที่มีตอการเปลี่ยนแปลงปริมาณและ/หรือคุณภาพสิ่งแวดลอมที่ก าลัง
               เกิดขึ้นจริงหรือสมมติขึ้น โดยมีวิธีในการศึกษา 2 รูปแบบ ไดแก (Bateman et al., 2002)






                                                           35
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57