Page 140 -
P. 140

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               et al. (2016) และ Newman (2004) ที่พบว่าผู้บริโภคชาวจีนในภาคใต้ (กว่างโจว) ชอบบริโภคข้าวมากที่สุด

               อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวจีนในภาคเหนือชอบที่จะทานก๋วยเตี๋ยว, เกี๊ยว, ขนมปังนึ่งและอาหารประเภทแป้ง
               อื่นๆ ผู้บริโภคข้าวหอมชาวกว่างโจวที่ร่วมตอบแบบสอบถามส่วนมาก ชอบรับประทานข้าวหอม จ านวน 400

               คน เนื่องจากประเทศจีนมีข้าวหอมท้องถิ่นที่มีความหอม และมีคุณภาพได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวกว่าง

               โจว เช่น ข้าว Youzhan ของมณฑลกวางตุ้ง ข้าว Daohuaxiang ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
               จีน (ส านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว, 2555) ตามด้วย ข้าวหอมมะลิ ข้าวเพื่อสุขภาพ

               เช่น ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้องและข้าวเหนียว เป็นต้น
                       ผู้บริโภคชาวกว่างโจวที่ทานข้าวในประเทศส่วนมากจะบริโภคข้าวที่มาจาก ภาคใต้ของจีน เช่น ข้าว

               Youzhan จ านวน 580 คน รองลงมาคือ ข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ข้าว Daohuaxiang

               จ านวน 530 คน ตามด้วยข้าวที่มาจากภาคเหนือของประเทศจีน จ านวน 233 คน สอดคล้องกับงานวิจัยของ
               Maruyama et al. (2016) และ Newman (2004) ที่พบว่าที่ผู้บริโภคในภาคใต้ (กว่างโจว) ชอบบริโภคข้าว

               สายพันธุ์อินดิก้า (สายพันธุ์ที่นิยมปลูกทางตอนใต้ของจีน) และพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคแตกต่างกัน
               ไปในแต่ละภูมิภาค โดยผู้บริโภคในภาคอีสานและภาคเหนือส่วนใหญ่ชอบที่จะบริโภคข้าวสายพันธุ์จาโปนิกา

               (สายพันธุ์ที่นิยมปลูกทางตอนเหนือของจีน) ส่วนข้าวต่างประเทศนั้นผู้บริโภคชาวจีนที่ร่วมการทดลองได้เคย

               บริโภคข้าวของประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีผู้บริโภคที่เคยบริโภคข้าวไทย จ านวน 601 คน โดยมี
               ข้อมูลสนับสนุนจากทีมส ารวจตลาดข้าวจีน ของมหาวิทยาลัย South China Agriculture University ได้

               พบว่าข้าวที่ระบุว่าเป็นข้าวหอมไทย ข้าวหอมมะลิไทยมีจ าหน่ายเป็นจ านวนมากในตลาดประเทศจีน แต่

               ส่วนมากจะมีการปลอมแปลง ผสม หรือมีการออกแบบบรรจุภันฑ์ให้ผู้บริโภคชาวจีนเกิดความเข้าใจผิด ท าให้
               ผู้เข้าร่วมทดลองหลายท่านเข้าใจว่าข้าวที่ทางผู้ร่วมทดลองได้ซื้อมานั้นเป็นข้าวที่น าเข้ามาจากประเทศไทย

               จริงๆ (เดลินิวส์, 2557; ไทยรัฐ, 2561) ผู้เข้าร่วมทดลองหรือสมาชิกในครอบครัวเคยซื้อข้าวที่มาจากประเทศ
               ไทยมาบริโภคในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.4 ตามมาด้วย ข้าวของประเทศกัมพูชา จ านวน 484 คน และข้าว

               จากประเทศประเทศเวียดนาม จ านวน 299 คน โดยส่วนใหญ่มีความชอบในการบริโภคข้าวหอมมะลิใน

               ระดับสูง จ านวน 339 คน โดยรวมผู้บริโภคชาวจีนมีความชอบในข้าวหอมมะลิในด้านคุณลักษณะ สอดคล้อง
               กับบทวิเคราะห์ของ ส านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู (2016) ได้กล่าวว่าข้าวหอมมะลิไทย

               เป็นความเป็นข้าวคุณภาพ เมล็ดเรียวยาวและมันวาว มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย และเก็บรักษาได้นาน จึงได้รับ
               ความนิยมอย่างมากจากผู้บริโภคชาวจีน จากค่าความพึงพอใจของผู้บริโภคส าหรับผลิตภัณฑ์สามารถก าหนด

               เป็นความชอบหรือไม่ชอบในผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (Guleria et al., 2015) จาก

               การสัมภาษณ์เบื้องต้น ทางผู้วิจัยก็เข้าใจได้ว่าข้าวที่ผู้บริโภคชาวจีนที่เป็นกลุ่มทดลองนี้เข้าใจว่าเป็นข้าวที่มา
               จากประเทศไทยแท้ๆนั้นมีจ านวนมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงคาดการณ์ว่าผลการส ารวจในเรื่องของจ านวนผู้บริโภค

               ชาวจีนที่เคยซื้อข้าวจากประเทศไทยมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง และยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เนื่องด้วย

               ผลจากการพัฒนาสายพันธุ์และการวิจัยอย่างต่อเนื่องในประเทศจีนและกลุ่มประเทศผู้ส่งออก ส่งผลให้ปัจจุบัน
               คู่แข่งในตลาดสามารถพัฒนาสายพันธุ์ได้ทัดเทียมและมีต้นทุนที่ถูกกว่าประเทศไทย ท าให้ประเทศไทยมีโอกาส

               ที่จะเสียส่วนแบ่งที่ส าคัญในตลาดจีนและในตลาดโลก ในด้านความถี่ในการซื้อ ผู้บริโภคชาวกว่างโจวมีความถี่



                                                           123
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145