Page 144 -
P. 144
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5.2 อภิปรายผลการศึกษา
ส าหรับการอภิปรายกลุ่มสนทนาและการทดสอบงานวิจัยชิ้นนี้ สรุปได้ว่าผู้บริโภคชาวจีนในเมืองกว่าง
โจว ยอมรับและมีความยึดติดกับ ความหอมนุ่ม และรสชาติที่หวานของข้าวหอมมะลิไทย ประกอบกับผู้บริโภค
ชาวจีนมีทัศนคติเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากประเทศไทย และข้าวหอมมะลิไทยก็เป็นหนึ่งในตัวเลือก
ที่ส าคัญนั้น ดังนั้นหากผู้บริโภคชาวจีนมีโอกาสสัมผัสกับข้าวหอมมะลิไทยที่แท้จริง จะมีโอกาสส าหรับ
ผู้ประกอบการชาวไทยหน้าใหม่ที่จะเสนอข้าวหอมมะลิไทยโดยเน้นอัตลักษณ์ และคุณลักษณะที่แท้จริงโดย
แสดงผ่านเครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวจีนที่ไม่มีประสบการณ์
กับข้าวหอมมะลิไทยแท้ๆ จะไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของพวกเขาได้ บรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจจะช่วยดึงดูด การ
รับรู้ผ่านสังคมออนไลน์ และการประชาสัมพันธ์ต่างๆ รวมถึงความสะดวกสบายในการเข้าถึง จะกลายเป็นตัว
แปรหลักในการตัดสินใจ นอกจากนี้ผลจากการวิจัยได้สรุปว่า ปัจจัยด้านเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน และ
ความปลอดภัยเป็นปัจจัยดึงดูดผู้บริโภคชาวจีนเป็นอันดับสูงสุด สอดคล้องกับ (Yang, Al-Shaaban et al.,
2014; Xie et al., 2015) ยังพบว่าความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งส าคัญในการพิจารณาความเต็มใจที่จะจ่าย
ของผู้บริโภคชาวจีน และประเด็นที่น่าสนใจคือ ความนิยมของข้าวหอมของ กัมพูชาและเวียดนามก าลังครองใจ
ผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้น โดยมีปัจจัยคุณภาพความหอมนุ่มที่ใกล้เคียงข้าวหอมมะลิเกรดส่งออกของประเทศไทย
และมีปัจจัยทางราคามาแบ่งส่วนแบ่งทางตลาดจากผู้บริโภคชาวจีน อีกทั้งข้าวจากแถบอาเซียนหลายประเทศ
โดยเฉพาะเวียดนามได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าว และพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อในผู้บริโภคทั่วโลกได้เข้าถึงข้าวจาก
ประเทศเวียดนามมากขึ้น (ปราณี, 2562 ; เจริญ, 2563) ดังนั้นหากข้าวไทยเสียส่วนแบ่งทางตลาดที่ประเทศ
จีนก็เท่ากับสูญเสียส่วนแบ่งตลาดข้าวทั่วโลกเนื่องจาก ผู้บริโภคชาวจีนเป็นผู้บริโภคข้าวอันดับ 1 ของโลก
รวมถึงเป็นผู้น าเข้าข้าวมากที่สุดในโลก (Worldatlas, 2019)
สรุปได้ว่าการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการประเมินเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางส าหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการ
ด าเนินการวิจัย เป็นข้อมูลประกอบเชิงนโยบายและพัฒนาข้าวไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ชาวจีน นอกจากนี้ยังสามารถก าหนดกลยุทธ์ การรุกตลาดเพิ่มเติมเพื่อสร้างความตระหนักและยอมรับข้าวจาก
ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในระดับสากล
127