Page 148 -
P. 148
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มะลิ ข้าวหอม หรือข้าวขาว และเป็นช่องทางหลักที่ผู้ค้าได้ติดต่อผ่านช่องทางนี้ กับหน่วยราชการ และเอกชน
ไทยที่ค้าส่งข้าวไทย
- การประชาสัมพันธ์ด้วยการรับรู้ทางประสาทสัมผัส มีอิทธิพลเชิงบวก ในการรับรู้ข้าวหอมมะลิ ดังนั้น
จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าความรู้สึกรับกลิ่นสามารถสร้างความคุ้นเคยและยึดติดในตราสินค้าในระดับสูง ใน
ความเป็นจริงการรับรู้เกี่ยวกับสัมผัสและการดมกลิ่นอาจได้รับอิทธิพลจากภาพที่เกิดจากตัวอย่างของการ
โฆษณาด้วยภาพ (Krishna et al., 2013)
- โฆษณาผ่านนักรีวิว นักกิน ชาวจีนที่มีชื่อเสียง โดยผ่านช่องทาง Wechat, Weibo, Youku และ
ช่องทางอื่นๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ เพื่อกระตุ้นการซื้อแบบเร่งด่วน สอดคล้องกับงานศึกษาของ นุชจ
รินทร์ ชอบด ารงธรรม (2553) ที่พบว่าการรับรู้สื่อต่างๆ จากเครือข่ายสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กับ
กระบวนการตอบสนองของผู้บริโภคในทุกด้านอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ Kotler, P. & Armstrong, G. (2010).
กล่าวว่าการตลาดในยุดปัจจุบันเป็นการตลาดที่ให้ความส าคัญกับผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางออนไลน์สื่อสาร
กลับมาสู่แบรนด์และยังสามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภค ด้วยกันเอง ซึ่งสามารถโน้มนาวความรู้สึกของผู้บริโภค
ด้วยกันเองให้คล้อยตามได้เป็นอย่างดี
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับการออกบูทแสดงสินค้าไทยของภาครัฐ ตามหัวเมืองต่างๆ โดยมี
การให้ชิม ช็อป ใช้ จัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้บริโภคชาวจีนจดจ ารสชาติ และเอกลักษณ์ของข้าวไทยให้ได้
- จัดกิจกรรม พบผู้ประกอบการน าเข้าข้าวชาวจีน ห้างสรรพสินค้า ตลาดค้าส่ง เพื่อประชาสัมพันธ์
สิทธิพิเศษต่างๆ พร้อมแนะน าข้าวๆใหม่ๆพร้อมท าตลาดร่วมกับผู้น าเข้าชาวจีน ในทุกกระบวนการจนถึงมือ
ผู้บริโภคชาวจีน
- จัดกิจกรรมช่วงเทศกาลหลักของจีน โดยผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Taobao, JD และอื่นๆ เช่นช่วง
เทศกาล 11.11, เทศกาลไหว้พระจันทร์, เชงเม้ง โดยเน้น ข้าวพันธุ์ใหม่ๆและคุณภาพดี สร้างการรับรู้ และ
ส่งเสริมฐานข้าวเจ้าตลาดของไทยให้แข็งแรง
- เน้นเรื่อง ตรารับรองสินค้าไทย ตรารับรองคุณภาพสากล และที่ส าคัญตราปลอดสารพิษ พบว่า
ผู้บริโภคชาวจีนต้องการเลือกอาหารปลอดสารพิษหากราคาอาหารปลอดสารพิษและอาหารธรรมดามีราคา
ใกล้เคียงกัน (Massey et al., 2018; Teng & Wang, 2015; Xie et al., 2015) พร้อมท าช่องทางให้ผู้บริโภค
ชาวจีนทราบถึงความหมายของแต่ละตรารับรองในทุกช่องทาง และให้ความรู้พนักงานขายชาวจีนที่ประจ าร้าน
ที่ขายข้าวไทย ช่วยบอกต่อผู้บริโภค
□ ด้านวิชาการ โดย สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ เกษตรกรและนักวิจัย
มีการน าไปใช้อย่างไร
จากผลการด าเนินงานโครงการ “การรับรู้ทางประสาทสัมผัสร่วมกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อข้าว
หอมมะลิ พฤติกรรมการสับเปลี่ยนตราสินค้า และความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคชาวจีน” โดยสามารถพัฒนา
คุณลักษณะและคุณภาพของข้าวไทย มาตรฐานคุณภาพข้าวไทยที่ส่งออกไปจีน ทั้งรสชาติ ความนุ่ม ความ
หวาน ความหอม ความสมบูรณ์ของเมล็ด รวมไปถึงตรามาตรฐานรับรองต่างๆ ซึ่งโครงการนี้สามารถสร้างองค์
131