Page 146 -
P. 146

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               □  ด้านพาณิชย์            โดย  หน่วยงาน (เอกชน)  ผู้ประกอบการและเกษตรกร

               มีการน าไปใช้อย่างไร
                       จากผลการด าเนินงานโครงการ “การรับรู้ทางประสาทสัมผัสร่วมกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อข้าว

               หอมมะลิ พฤติกรรมการสับเปลี่ยนตราสินค้า และความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคชาวจีน” หน่วยงานเอกชน

               ผู้ประกอบการและเกษตรกร ได้ทราบถึงคุณลักษณะและคุณภาพของข้าวไทย มาตรฐานคุณภาพข้าวไทยที่
               ส่งออกไปประเทศจีน ทั้งรสชาติ ความนุ่ม ความหวาน ความหอม ความสมบูรณ์ของเมล็ด รวมไปถึงตรารับรอง

               มาตรฐานต่างๆ พร้อมท าความเข้าใจกับผู้ส่งออกเพื่อเป็นมาตรฐาน เมื่อมาตรฐานและคุณลักษณะของข้าวที่

               ผลิตหรือแปรรูปตรงกับความพึงพอใจของผู้บริโภคชาวจีนแล้วนั้น ก็จะสามารถยกระดับมาตรฐานของข้าวไทย
               ขึ้นไปได้อีกขั้น


               1. กลยุทธ์ด้านราคา (Pricing Strategy)

                         ราคา ผู้ประกอบการ ต้องตั้งราคาผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสมแต่ต้องสอดคล้องกับการวาง

               ยุทธศาสตร์ของข้าวไทยที่เน้นเรื่องคุณภาพ ในการตั้งราคาต้องพิจารณาถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆที่
               เกี่ยวข้อง โดยเน้นการบริหารอุปทาน ให้สอดคล้องกับอุปสงค์ของผู้บริโภคชาวจีน เน้นกลุ่มเฉพาะตลาด

               ระดับกลาง ถึงระดับสูงให้มากขึ้น มีความแตกต่างจากข้าวจากประเทศอื่นๆ ให้เห็นเด่นชัดเพื่อที่จะได้
               สอดคล้องกับราคาที่ได้ตั้งเป้าไว้ ต้องให้ความส าคัญกับปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าไทย

               อย่างมาก แต่จะมีการลดราคาหรือปรับราคาลงมาช่วงกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อให้ลูกค้ารายใหม่รับรู้

               เท่านั้น


               2. กลยุทธ์ด้านสถานที่ตั้ง (Place strategy)

                         วิเคราะห์พื้นฐานของยุทธศาสตร์ประเทศ รวมถึงระบบขนส่ง พร้อมเปรียบเทียบกับคู่แข่งทาง
               ยุทธศาสตร์ที่ตั้ง ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในประเทศที่มี

               ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหมาะส าหรับปลูกข้าวได้หลากหลายสายพันธุ์ ในปัจจุบันการส่งออกข้าว

               ไทยไปยังประเทศจีนมีรูปแบบการขนส่งที่หลากหลายมี 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ เส้นทางบก และเส้นทางทะเล มี
               เส้นทางบกสี่เส้นทางหลัก: R3A, R3B, R9 และ R12 มีสองเส้นทางหลักในทะเล เส้นทางแรก วิ่งจากท่าเรือ

               แหลมฉบังของประเทศไทยไปยังกว่างโจวและเส้นทางที่สองวิ่งจากท่าเรือ แหลมฉบังของประเทศไทยไป
               ยังเซี่ยงไฮ้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเทศไทยนิยมใช้ทางหลวงสาย R9 และ R12 เนื่องจากถนนสองสาย

               เหล่านี้ใช้เวลาน้อยกว่า และค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ถูกกว่าซึ่งสามารถมอบประสบการณ์ข้าวสดใหม่ส่งตรงต่อ
               ผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ส่งออกควรวางแผนการขนส่งรวมถึง กระบวนการเก็บเกี่ยวและรักษา

               คุณภาพข้าวขณะขนส่ง รวมถึงค านวณระยะเวลาที่จะท าการกระจายข้าว การเก็บรักษา หรือการขายที่หน้า

               ร้าน






                                                           129
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151