Page 147 -
P. 147
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าส่งออก ด้วยระบบตรวจสอบที่วัดผลได้ รวมถึงต่อยอดวิจัยด้าน
พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีน ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและส่งเสริมพันธุ์ข้าวที่ดีเยี่ยมด้วย
เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การตัดแต่งพันธุกรรมของยีนในข้าวรวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าว เพื่อรักษาความ
หอม สดใหม่ ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพสูงที่ตรงตามความต้องการ ตรารับรอง
มาตรฐาน พร้อมทั้งตราสินค้าเพื่อผลิตผลทางการเกษตรที่สมบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมีเครื่องหมาย
รับประกันในการผลิตที่มีคุณภาพ การผลิตข้าวในประเทศไทยต้องด าเนินการตามขั้นตอนและการจัดการด้าน
เทคนิคตามล าดับและปรับปรุงคุณภาพของข้าวไทยโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ในการ
เพาะปลูก โดยการทดลองผสมพันธุ์พืชในแปลงเกษตรหรืออาศัยผลงานวิจัยของสถาบันต่างๆ เพื่อให้ได้พันธุ์
ข้าวหรือคุณลักษณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่และการให้ผลผลิต ต้องให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีและ
การเชื่อมโยงทางเทคนิคต่างๆ โดยมีนักวิชาการเกษตรคอยให้ค าปรึกษาด้านเทคนิคและบริการด้านเทคนิค
ส าหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
นอกเหนือจากการศึกษาอุปสงค์และอุปทานของข้าวไทยในตลาดต่างประเทศอย่างรอบคอบแล้ว เราต้อง
เข้าใจถึงข้อดีของทรัพยากรธรรมชาติและต้นทุนการผลิต เข้าใจขนาดก าลังการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ของอุตสาหกรรมข้าวระหว่างประเทศ พร้อมศึกษาเทคนิค และเทคโนโลยีการเพาะปลูก รวมถึงสายพันธุ์ของ
ประเทศนั้นๆ เพื่อมาเปรียบเทียบแล้วปรับปรุงคุณภาพของข้าวไทยต่อไป
รักษาคุณภาพข้าวและเพิ่มความใส่ใจในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการพิเศษ ตลาดผู้บริโภคข้าวของจีนให้
ความส าคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น ในปัจจุบันประเทศจีนได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้คนให้ความส าคัญ
กับสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ และการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพ
ในการลงทุนซื้อข้าวคุณภาพสูง การจัดการคุณภาพข้าวของประเทศไทยมีความเข้มงวดและคุณภาพของข้าว
ส่งออกได้รับการยืนยันอย่างเป็นเอกฉันท์จากตลาดต่างประเทศ ดังนั้นประเทศไทยควรรักษาคุณภาพการผลิต
ข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากตลาดผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงการแปรรูปเพื่อแก้ปัญหาข้าวที่
ออกมาพร้อมๆ กันในจ านวนมากตามฤดู โดยการเพิ่มมูลค่าข้าว และลดจุดด้อยของข้าวบางสายพันธุ์ เช่น ข้าว
รสชาติดีแต่ไม่มีความสมบูรณ์ของเมล็ด ถึงข้าวหอมมะลิไทยจะเป็นข้าวที่สากลรู้จักในชื่อเสียงแต่การจะท าให้
ผู้บริโภคทั่วโลกยึดติดต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยในยุคปัจจุบันการสร้างการรับรู้ของข้าวจาก
ประเทศใหม่ๆท าได้ง่ายและใช้ต้นทุนไม่มาก
4. กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion strategy)
เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มการบริโภคข้าวไทยในตลาดจีน
- สร้างแพลตฟอร์มความรู้ทางข้าวไทยต่อผู้ค้าส่ง ร้านค้า และผู้บริโภคชาวจีน ที่เล่าถึงประวัติ ต้น
ก าเนิด ประโยชน์ วิธีการดูและเลือกข้าว ถึงแม้ว่าข้าวไทยจะเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน แต่ผู้บริโภคชาว
จีนส่วนมากรู้จักข้าวไทยอย่างผิวเผิน บางคนยังแยกไม่ออกระหว่างข้าวของไทยประเภทต่างๆ อาทิ ข้าวหอม
130