Page 139 -
P. 139
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การทดลองวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมโดยรวมของการเลือกซื้อข้าวหอมของ
ผู้บริโภคในเขตกว่างโจว (Guangzhou) ประเทศจีน ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส ด้าน
อคติชาติพันธุ์นิยม ด้านประเทศต้นก าเนิดผลิตภัณฑ์ ด้านคุณลักษณะข้าว ด้านประชากรศาสตร์ ด้านราคา
ด้านเครื่องหมายมาตรฐาน รวมถึงด้านการสับเปลี่ยนตราสินค้า โดยผลการทดลองวิจัยครั้งนี้ สามารถน าไป
เสนอแก่ผู้ที่มีส่วนต่อนโยบายเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนาข้าวไทย ส่วนประสมทางการตลาด
รวมทั้งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งสามารถท าให้ทราบถึงรายละเอียดและข้อมูล
ของผู้บริโภคชาวจีนที่มีต่อการเลือกซื้อข้าวหอม และข้าวหอมมะลิไทย
5.1 สรุปผลการศึกษา
ด้านลักษณะทางสังคมและประชากรศาสตร์
ผู้บริโภคชาวจีนที่ร่วมการทดลอง เป็นผู้บริโภคชาวจีนที่อาศัยอยู่ที่เมืองกว่างโจว โดยส่วนมากจะมี
ภูมิล าเนาอยู่ในมลฑลกวางตุ้ง เขตจีนตอนใต้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 36–45 ปี
รองลงมามีช่วงอายุ 26-35 ปี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพ สมรส จ านวน 499 คน ด้านระดับ
การศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษา อยู่ในระดับ ปริญญาตรี 210 คน รองลงมา การศึกษาอยู่ในระดับ
ต่ ากว่าปริญญาตรี ด้านรายได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ครัวเรือนอยู่ในช่วง 8,001 – 12,000 RMB
ต่อเดือน รองลงมามีรายได้มากกว่า 12,000 RMB ต่อเดือน ซึ่งประชากรชาวกว่างโจว มลฑลกวางตุ้งเป็นกลุ่ม
ผู้บริโภคที่มีรายได้สูง มีก าลังซื้อสูงและประขากรที่มีก าลังซื้อมีจ านวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้บริโภคมีความ
สนใจในความปลอดภัยของสินค้าอาหารมากขึ้น มณฑลกวางตุ้งจึงยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพส าหรับข้าวหอม
มะลิ (ส านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว, 2555) โดยผู้บริโภคชาวกว่างโจวที่ตอบ
แบบสอบถามส่วนมากมีจ านวนสมาชิกในครอบครัว 1-2 คน ด้านอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพเป็นพนักงานบริษัท จ านวน 256 คน รองลงมาประกอบอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว จ านวน 145 คน โดย Ma,
G. (2015) กล่าวว่าพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกอาหารและการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีนเกี่ยวข้องกับ
การให้ความส าคัญของโภชนาการและสารอาหารที่จะได้รับ ในขณะที่พฤติกรรมเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากปัจจัย
ทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยผู้ร่วมทดลองทุกคนไม่มีปัญหาด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งการ
มองเห็น ดมกลิ่นและการสัมผัส
ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารและข้าว
การวิเคราะห์ข้อมูล ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารและข้าวของผู้บริโภคชาวกว่างโจว สามารถสรุป
ตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ ผู้บริโภคชาวกว่างโจวมีความชอบในการบริโภคข้าวมากที่สุด จ านวน 422 คน
รองลงมาคือ อาหารจ าพวกเส้น หมั่นโถวและขนมปัง จ านวน 24 คน สอดคล้องกับงานวิจัยของ Maruyama
122