Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
127
P
P : สัญลักษณ์ของธาตุฟอสฟอรัส (phosphorus)
palisade mesophyll แพลิเซดมิโซฟิลล์ : เซลล์พาเรงคิมาซึ่งมีคลอโรฟิลล์ อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้น
ผิวบนและเนื้อเยื่อชั้นผิวล่างของใบ เฉพาะส่วนบนที่เรียงตัวกันแน่น ทําหน้าที่ในการสังเคราะห์
แสง คลอโรฟิลล์มีธาตุไนโตรเจนและแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ (palus, L: เสาหรือหลัก)
pan granulator เครื่องปั้นเม็ดแบบจาน : อุปกรณ์ปั้นเม็ดปุ๋ย มีลักษณะคล้ายจาน ซึ่งจุดศูนย์กลางยึดกับแกนที่
หมุนได้ จานทํามุมกับพื้นราบจึงเรียกว่าจานเอียง การหมุนของจานจะช่วยเหวี่ยงอนุภาคให้กลิ้งไปพร้อม ๆ กับการ
พอกละอองปุ๋ยที่ชื้นเพื่อทําให้เม็ดโตขึ้น เมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้วจึงแยกเม็ดปุ๋ยที่ใช้การได้นั้นออกไป
parallel venation การเรียงเส้นใบขนาน : แบบการเรียงเส้นใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชเมล็ดเปลือย ซึ่งเส้นใบ
ขนานกันและขนานกับขอบใบ
parenchyma cell เซลล์พาเรงคิมา : เซลล์พื้นฐาน กระจายอยู่ในอวัยวะต่างๆของพืช ผนังบางรูปทรงค่อนข้างมน
หรือยาว ช่องว่างระหว่างเซลล์ใหญ่ หน้าที่ต่างกันขึ้นอยู่กับตําแหน่งที่พบ เช่น อยู่ที่ใบทําหน้าที่สังเคราะห์แสง ในลํา
ต้นและรากเป็นทางผ่านในการลําเลียงธาตุอาหารและนํ้าสู่ระบบท่อลําเลียง ตลอดจนเก็บสะสมอาหาร เช่น
คาร์โบไฮเดรต ในใบมีสองชนิด คือ พาลิเซดพาเรงคิมา (palisade parenchyma) มีลักษณะกลมหรือหลายเหลี่ยม
กับ สปอนจีพาเรงคิมา (spongy parenchyma) เป็นชั้นที่เซลล์เรียงตัวกันหลวมๆ (parenchein, G: รินลงใน
ด้านข้าง)
part per million (ppm) ส่วนต่อล้าน : หน่วยความเข้มข้นของสาร แสดงปริมาณที่มีอยู่ในหนึ่งล้านส่วนโดยนํ้าหนัก
หรือโดยปริมาตร เช่น ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน 20 ppm หมายความว่าดิน 1 ล้านกรัมมีฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์ 20 กรัม (ดิน 1 กิโลกรัม มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 20 มิลลิกรัม) การบอกปริมาณธาตุอาหารในดิน
ในปัจจุบัน นิยมใช้หน่วย มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) โดย 1 มก./กก = 1 ppm
particle density ความหนาแน่นอนุภาค: มีความหมายเหมือนกับ true density
particle size distribution การแจกแจงขนาดเม็ด : ผลจากการวิเคราะห์ปุ๋ยด้วยตะแกรงมาตรฐานขนาดต่าง ๆ ที่
เรียงซ้อนกันเป็นชุด โดยระบุปริมาณหรือร้อยละของปุ๋ยในแต่ละพิสัยขนาดของตะแกรง
partitioning การจัดสัดส่วน : ระบบในพืชที่ทําให้การใช้ธาตุอาหารมีประสิทธิภาพ มี 2 ระดับ คือ (1) ระดับเซลล์
โดยจัดให้อยู่ใน metabolic pool และ nonmetabolic pool อย่างสมดุล และ (2) ระหว่างอวัยวะ จัดระบบให้มี
การเคลื่อนย้ายจากอวัยวะที่ไม่มีการสังเคราะห์แสงไปยังใบซึ่งมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูง และใช้ธาตุอาหาร
มากกว่า
passive transport การขนส่งแบบแพสซีฟ : การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อตามลาดศักย์เคมี (chemical potential
gradient) ของสารนั้น โดยใช้โปรตีนช่องผ่านของตัวละลาย (solute channels) เป็นกลไกที่ไม่ใช้พลังงานจากเม
แทบอลิซึมโดยตรง แต่มีกระบวนการอื่นที่ (เช่น proton pump) ใช้พลังงานจาก ATP ในการสร้างศักย์เยื่อให้
เหมาะสมสําหรับขนส่งไอออนของธาตุอาหาร ดู secondary active transport ประกอบ