Page 132 -
P. 132
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
132
photorespiration การหายใจเชิงแสง : กระบวนการที่พืช C สูญเสีย CO จากการสลายตัวทางชีวเคมีของ
2
3
สารอินทรีย์โดยปฏิกิริยาที่ใช้ O แต่ไม่มีการสังเคราะห์ ATP เป็นกระบวนการซึ่งเกิดขึ้นในเวลากลางวัน ที่มีอากาศ
2
ร้อน (อุณภูมิสูงกว่า 28°C) และแห้งแล้ง ปากใบปิดเพื่อลดการสูญเสียนํ้า ปริมาณ CO ในเซลล์มีโซฟิลล์ตํ่ามาก
2
เอนไซม์ Rubisco จึงไม่ตรึง CO แต่ตรึง O แทน การหายใจเชิงแสงเกิดขึ้นจากกิจกรรมของเอนไซม์ต่างๆในออร์
2
2
แกเนลล์ 3 อย่าง คือ คลอโรพลาสต์ เพอร์ออกซิโซม และไมโทคอนเดรีย ผลของกระบวนการนี้ทําให้ประสิทธิภาพ
การสังเคราะห์แสงของพืช C ลดลง
3
photosynthesis การสังเคราะห์แสง : กระบวนการสังเคราะห์สารอินทรีย์ของพืชสีเขียว โดยใช้พลังงานจากแสง
แบ่งเป็น 2 ส่วน ปฏิกิริยาเคมีเชิงแสง เป็นขั้นตอนของการสังเคราะห์ ATP, NADPH และ ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง
+
+
โดยนํา ATP, NADPH มาใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ได้สารอินทรีย์โมเลกุลเล็ก ธาตุอาหารซึ่งทําหน้าที่ใน
กระบวนการสังเคราะห์แสงมีหลายธาตุ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กํามะถัน เหล็ก
ทองแดง แมงกานีส สังกะสี และคลอรีน
photosystem ระบบแสง : กลุ่มของสารสีซึ่งรวมกันเป็นหน่วยเก็บเกี่ยวพลังงานโฟตอน (photon) อยู่ที่เยื่อหุ้มไทลา
คอยด์ของคลอโรพลาสต์ในใบ ประกอบด้วยคลอฟิลล์ เอ ในศูนย์ปฏิกิริยา ล้อมรอบด้วยสารสีเสริมเป็นบริวาร
ได้แก่คลอโรฟิลล์ บี กับสารสีอื่นๆ รวมแล้วกลุ่มหนึ่งมี 200-300 โมเลกุล เกาะยึดอยู่กับโปรตีน มี 2 ระบบคือ
ระบบแสง I (photosystem I) ประกอบด้วยหน่วยรับพลังงานแสงความยาวคลื่นไม่ตํ่ากว่า 700 นาโนเมตร และ
ระบบแสง II หรือเขียนว่าระบบแสง 2 (photosystem II or photosystem 2) ประกอบด้วยหน่วยรับพลังงานแสง
ช่วงคลื่นไม่ตํ่ากว่า 680 นาโนเมตร ที่ศูนย์ปฏิกิริยา (P680) มีแมงกานีสและคลอรีนอยู่ในโครงสร้าง ทั้งสองระบบจะ
ทําหน้าที่ร่วมกันเพื่อการส่งพลังงานไปใช้สร้าง ATP และ NADPH มีธาตุอาหารทําหน้าที่ในส่วนต่างๆของระบบแสง
รวม 10 ธาตุ
phototropism การเบนเหตุแสง : การเคลื่อนไหวหรือการเติบโตที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของแสงซึ่งเป็นสิ่งเร้า (-
trope, L: การหัน หรือ turning ) มี 2 แบบ คือ (1) เข้าหาแสง (positive phototropism))ของปลายยอด และ
(2) การเคลื่อนไหวหนีแสง (negative phototropism) ของปลายราก เกิดเนื่องจากส่วนเหนือดิน (shoot) มีไฟโท
โครมเป็นสารรับและดูดแสงแล้วส่งผลจนเกิดการตอบสนอง ทิศทางการเบนของยอดและปลายรากขึ้นอยู่กับ
ลักษณะการตอบสนองของเซลล์ต่อออกซิน มีแคลเซียมช่วยในการควบคุม
phyllospheric N-fixers จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนที่ใบ: จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนซึ่งพบที่ผิวใบ (phyll หมายถึงใบ)
ได้แก่ Azotobacter, Beijerinckia, Aerobacter, Pseudomonas ฯลฯ ใบพืชที่พบจุลินทรีย์เหล่านี้ เช่น ข้าว
ข้าวโพดและถั่วต่างๆ
physiological efficiency ประสิทธิภาพเชิงสรีระ : ผลผลิตพืชส่วนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการใช้ปุ๋ย
ต่อหน่วยของธาตุอาหารที่พืชดูดได้จากปุ๋ย จึงมีหน่วย กก.ผลผลิตที่เพิ่มจากการใส่ปุ๋ย/กก. ธาตุอาหารที่พืชดูดได้
จากปุ๋ย ดู agronomic efficiency และ apparent recovery efficiency ประกอบ
phytochelatin ไฟโทคีเลทิน: พอลิเพ็บไทด์ที่มีกํามะถันในโครงสร้าง ช่วยลดพิษของแคดเมียมในเซลล์ โดยทํา
ปฏิกิริยาคีเลชันกับโลหะดังกล่าว