Page 130 -
P. 130
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
130
phosphate fertilizer ปุ๋ยฟอสเฟต : ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งธาตุนี้อยู่ในรูปสารประกอบฟอสเฟต เช่น ได
แอมโมเนียมฟอสเฟต [(NH ) HPO ] ระบุปริมาณธาตุอาหารอย่างเป็นทางการว่า ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (%P O )
2 5
4
4 2
phosphate fixation การตรึงฟอสเฟต : การเปลี่ยนแปลงฟอสฟอรัสในดินจากรูปที่ละลายง่าย เป็นสารประกอบ
ของเหล็ก อะลูมิเนียมหรือแคลเซียมซึ่งละลายยาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า phosphate adsorption ก็ได้
phosphate rock หินฟอสเฟต : หินซึ่งมีธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ แบ่งได้ 2 อย่าง คือ (1) หินอัคนี: มีแร่
ฟลูอออะพาไทต์ เป็นองค์ประกอบหลัก ลักษณะแน่นทึบและผลึกใหญ่ และ (2) หินตะกอน มีแร่อะพาไทต์หลาย
ชนิดเป็นองค์ประกอบ ลักษณะพรุน ความหนาแน่นตํ่า และผลึกเล็ก (เรียกหินฟอสเฟตว่า phosphorite ก็ได้)
phosphate solubilizing micro-organisms จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต : แบคทีเรีย ราและแอกทิโนไมซีตที่ละลาย
สารประกอบฟอสเฟตซึ่งละลายยาก ด้วยกรดอินทรีย์ที่ขับออกมาจากเซลล์ จุลินทรีย์เหล่านี้ทําให้หินฟอสเฟตและ
สารประกอบฟอสเฟตที่ละลายยากชนิดอื่นละลายได้มากขึ้น โดยย่อยให้มีอนุภาคเล็กลง แล้วจึงละลายและ
ปลดปล่อยฟอสเฟตไอออนออกมา
phosphate tetraurea ฟอสเฟตเตตรายูเรีย : ปุ๋ยที่มีทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ชื่อเต็มโมโนแคลเซียม
ฟอสเฟตเตตรายูเรีย หรือ Ca(H PO ) .4CO(NH ) เป็นผลผลิตของการรวมตัว (adduct) ของโมโนแคลเซียม
2 2
4 2
2
ฟอสเฟตกับยูเรีย
phosphate transporter พาหะขนส่งฟอสเฟต: โปรตีนขนส่งประเภทพาหะ มีความจําเพาะเจาะจงต่อการดูด
ฟอสเฟตไอออน
phospholipid ฟอสโฟลิพิด: ลิพิด (lipid) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล กรดไขมัน
(fatty acid) 2 โมเลกุล และกรดฟอสฟอริก 1 โมเลกุล ในโมเลกุลมีทั้งส่วนที่ชอบนํ้า (hydrophilic) และไม่ชอบ
นํ้า (hydrophobic)
phospholipid bilayer ฟอสโฟลิพิดสองชั้น: ฟอสโฟลิพิดที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์มี 2 ชั้นซ้อนกัน
กลายเป็นเยื่อชั้นคู่ โดยแต่ละชั้นจัดเรียงให้ด้านที่ไม่ชอบนํ้า (hydrophobic) อยู่ด้านในและเชื่อมกันด้วยพันธะเคมี
ส่วนด้านที่ชอบนํ้า (hydrophilic) หันออกนอก ดังนั้นผิวเยื่อหุ้มเซลล์ด้านทั้งด้านนอกและด้านในจึงมีโมเลกุลของ
นํ้าเกาะได้
phosphor-gypsum ฟอสโฟยิปซัม : ยิปซัมที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตกรดออโทฟอสฟอริก โดย wet process
แยกออกจากกรดโดยการกรอง จึงมีกรดเจือปนเล็กน้อย
phosphorelation ฟอสฟอรีเลชัน : การเคลื่อนย้ายหมู่ฟอสเฟตจากสารชนิดหนึ่งไปให้แก่สารอีกชนิดหนึ่งที่เป็น
ตัวรับ โดยใช้เอ็นไซม์เร่งปฏิกิริยา เช่น การสังเคราะห์ glucose-6-phosphate จากกลูโคสกับ ATP หรือการ
สังเคราะห์ ATP จาก ADP กับหมู่ฟอสเฟต ดูความหมายของ oxidative phosphorylation และ substrate-
level phosphorylation
phosphoric acid กรดฟอสฟอริก : (1) กรดที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่าง P O (อ่านว่า ฟอสฟอริกแอนไฮดรายด์,
2 5
ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ หรือ ฟอสฟอริกออกไซด์) กับนํ้า ซึ่งให้กรด metaphosphoric acid (HPO ),
3
tetrapolyphosphoric acid (H P O ), tripolyphosphoric acid (H P O ), pyrophosphoric acid (H P O )
4 2 7
5 3 10
6 4 13
หรือ orthophosphoric acid (H PO )
4
3