Page 125 -
P. 125

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               125





                    orthophosphate fertilizer ปุ๋ยออโทฟอสเฟต : ปุ๋ยที่ผลิตจากกรดออโทฟอสฟอริก (H PO )  ส่วนใหญ่เป็นเกลือ
                                                                                       3
                                                                                           4
                      แคลเซียม และแอมโมเนียมฟอสเฟต  ดู ammonium phosphate และ superphosphate ประกอบ
                    orthophosphoric acid กรดออโทฟอสฟอริก (H PO ) : กรดที่ผลิตได้จาก 2 กระบวนการคือ (1) Wet process:
                                                          3
                                                             4
                      นําหินฟอสเฟตมาทําปฏิกิริยากับกรดกํามะถัน กรดออโทฟอสฟอริกที่จําหน่ายเพื่อผลิตปุ๋ยฟอสเฟตโดยทั่วไปมี
                      ความเข้มข้น 53-54%P O  ซึ่งเรียกว่า merchant grade ใช้ผลิตปุ๋ยฟอสเฟตหลายชนิด เช่น ทริปเปิลซูเปอร์
                                       2 5
                      ฟอสเฟต โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (2) Fernace process (pyrolytic, electric
                      หรือ blast fernace process): เริ่มจากแปรสภาพหินฟอสเฟตให้กลายเป็นธาตุฟอสฟอรัสเสียก่อน   ต่อจากนั้นจึง

                      นํามาออกซิไดส์ให้ได้ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ ซึ่งทําปฏิกิริยาต่อไปกับนํ้าให้กรดออโทฟอสฟอริกที่มีความบริสุทธิ์สูง

                      กว่าการผลิตด้วยวิธีแรก ใช้ผลิตปุ๋ยเกรดสูงหรือใช้ในอุสาหกรรมบางอย่าง (orth-, ortho-, G: ตรง)
                    osmosis ออสโมซิส : การเคลื่อนที่ของนํ้าจากด้านที่มีศักย์นํ้า (water potential) สูงกว่าผ่านเยื่อซึ่งมีการคัดเลือก

                      ไปยังด้านที่มีศักย์นํ้าตํ่ากว่า (osmos, G : ผลัก)
                    osmotic adjustment การปรับออสโมซิส: กระบวนการลดศักย์ออสโมซิส (osmotic potential) ของเซลล์ โดย

                      สะสมตัวละลายภายในเซลล์ ทําให้ศักย์นํ้า (water potential) ในเซลล์ตํ่ากว่าศักย์นํ้าภายนอก จึงเกิดเกรเดียนต์ข

                      องศักย์นํ้า เป็นเหตุให้นํ้าเคลื่อนที่จากภายนอกเข้ามาในเซลล์ คลอไรด์เป็นไอออนหนึ่งที่มีความสําคัญในเรื่องนี้
                    osmotic potential (ψπ) ศักย์ออสโมซิส : องค์ประกอบหนึ่งของศักย์นํ้า (water potential) โดยศักย์ออสโมซิสมี

                      ความสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้น (หน่วย molal) ของตัวละลาย ดังนั้นเมื่อความเข้มข้นของตัวละลายทั้งหมด

                      ในเซลล์สูงขึ้น ศักย์ออสโมซิสของเซลล์จะมีค่าลดลง (แสดงค่าเป็นลบ) ศักย์นํ้าในเซลล์ก็ย่อมตํ่าลงด้วย จึงมี
                      แนวโน้มที่นํ้าจากภายนอกจะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อเข้ามาในเซลล์

                    outer free space  ช่องว่างชั้นนอก : ช่องว่างในผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ อันเป็นส่วนของเนื้อเยื่อพืชที่ไม่

                      มีสิ่งขวางกั้นการแพร่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะโพพลาสต์ (apoplast)
                    ovary รังไข่ : โครงสร้างส่วนฐานคาร์เพล (carpel) ของดอก ภายในมีออวุล (ovule) หลังการปฏิสนธิจะขยาย

                      ออกเป็นเป็นผลหรือส่วนหนึ่งของผล

                    overrun ธาตุอาหารเผื่อขาด : ปริมาณธาตุอาหารที่เผื่อไว้ในปุ๋ยเคมี เพื่อทําให้ผลการวิเคราะห์ปุ๋ยจึงสูงกว่าปริมาณ
                      ธาตุอาหารรับรอง ซึ่งระบุไว้ในฉลากปุ๋ย

                    oxamide ออกซาไมด์ : ปุ๋ยละลายช้าซึ่งเป็นสารประกอบอะไมด์ของกรดออกซาลิก (oxalic acid) สูตรโมเลกุล
                      (NH ) (CO)  มีไนโตรเจนทั้งหมด 31.8% สลายด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์
                               2
                         2 2
                    oxamidine phosphate ออกซามิดีนฟอสเฟต : ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยฟอสเฟตใหม่ ผลิตจากปฏิกิริยาระหว่าง cyanogen
                      แอมโมเนียและกรดฟอสฟอริก

                    oxidation ออกซิเดชัน : ปฏิกิริยาซึ่งธาตุทํากับออกซิเจน ธาตุหรือไอออนของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนหรือมีเลข

                      ออกซิเดชัน (oxidation number) เพิ่มขึ้น
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130