Page 129 -
P. 129

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               129





                    petiole analysis การวิเคราะห์ก้านใบ : การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในก้านใบ เพื่อประเมินว่าพืชมีธาตุอาหาร
                      เพียงพอหรือไม่  มีผู้ศึกษาพบสหสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการธาตุอาหารของพืชระดับที่เพียงพอต่อการให้

                      ผลผลิตสูงกับความเข้มของธาตุเหล่านั้นในก้านใบ แล้วนําไปใช้เป็นแนวทางการใส่ปุ๋ยอย่างได้ผลดีกับพืชยืนต้น

                      หลายชนิด  เนื่องจากพืชเหล่านี้มีอายุยาวพอที่จะเห็นผลของปุ๋ยซึ่งใส่ภายหลังการวิเคราะห์ก้านใบแล้ว
                    pH พีเอช : ตัวเลขบอกสภาพกรด-ด่างของสารละลาย คํานวณได้จาก pH = -log[H ] เมื่อ [H ] คือ ความเข้มข้น
                                                                                           +
                                                                                    +
                      ของ H  มีหน่วยโมลาร์ สารละลายที่มี pH 7 เป็นกลาง ตํ่ากว่า 7 เป็นกรดและสูงกว่า 7 เป็นด่าง ดูเพิ่มเติมจาก
                           +
                      acidity, soil (สภาพกรดของดิน)

                    phenolic ฟีโนลิก : เมแทบอไลต์ทุติยภูมิประเภทหนึ่ง เป็นกลุ่มของสารเชิงซ้อนซึ่งมีไฮดรอกซีเบนซีนอยู่ในโครงสร้าง

                      วงแหวนเหล่านี้มาจากกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนและไทโรซีน สารกลุ่มนี้ได้แก่ลิกนิน ที่ทําให้พืชแข็งแกร่ง และมีสาร
                      ซึ่งทําหน้าที่อื่นๆอีกหลายชนิด

                    phenology ชีพลักษณ์วิทยา: การศึกษาการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อสภาพแวดล้อม ในรอบปีหรือรอบฤดูกาล
                      โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น สภาพภูมิประเทศ ฯลฯ

                      ต่อการเติบโตและการสืบพันธุ์ของต้นไม้

                    phloem โฟลเอ็ม : เนื้อเยื่อของระบบท่อลําเลียงทําหน้าที่เคลื่อนย้ายอาหาร จากแหล่งจ่าย (source) ไปยังที่รับ
                      (sink) ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด คือ เซลล์หลอดตะแกง เซลล์พาเรงคิมา เซลล์เส้นใยและสเกลอรีด การลําเลียง

                      เกิดในหลอดตะแกรง ซึ่งมีเซลล์หลอดตะแกรงต่อกันตามความยาว

                    phloem loading การขนเข้าโฟเอ็ม: การลําเลียงสารอินทรีย์เข้าสู่เซลล์หลอดตะแกรง (sieve cells) ของโฟลเอ็ม ซึ่ง
                      โพแทสเซียมและโบรอนมีบทบาทสําคัญ

                    phloem protein โฟลเอ็มโปรตีน: โปรตีนในโฟลเอ็ม ทําหน้าที่อุดรอยชํารุดของเซลล์หลอดตะแกรง เพื่อลดการ
                      รั่วไหลของสารเมื่ออวัยวะพืชฉีกขาด

                    phloem sap นํ้าเลี้ยงโฟลเอ็ม: ของเหลวที่เคลื่อนย้ายในโฟลเอ็ม มีของแข็ง 15-25% ประมาณ 90% ของของแข็ง

                      เป็นซูโครส นอกนั้นเป็นกรดอะมิโน สารอินทรีย์ชนิดอื่น และธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายได้ดีไนโฟลเอ็ม เช่น
                      โพแทสเซียม ฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม

                    phloem transport การเคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็ม: การเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์และธาตุอาหาร ทางโฟลเอ็มจาก
                      แหล่งจ่ายไปยังที่รับ มีเป้าหมาย 2 อย่าง คือ (1) การเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์และธาตุอาหาร เพื่อส่งเสริมการเติบโต

                      ของอวัยวะใหม่ และ (2) การเคลื่อนย้ายสารที่ใช้ป้องกันอันตรายและโมเลกุลสัญญาณไปยังอวัยวะเป้าหมาย ธาตุที่

                      มีบทบาทสําคัญ คือ โบรอน โพแทสเซียม แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส
                    phloem unloading การขนออกจากโฟเอ็ม: การลําเลียงสารอินทรีย์ออกจากเซลล์หลอดตะแกรง (sieve cells) ของ

                      โฟลเอ็ม เข้าสู่เซลล์ของที่รับสารอินทรีย์ (sink)

                    phosphatase ฟอสฟาเทส : เอนไซม์ที่ย่อยสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต แล้วปลดปล่อยฟอสเฟตไอออนออกมา
                    phosphate ฟอสเฟต  : คําคุณศัพท์ใช้ขยายคํานามเพื่อแสดงว่ามีฟอสฟอรัสรูปฟอสเฟต เช่น (1) phosphate ion

                      (แอนไอออนของกรดฟอสฟอริก) (2) phosphate salt (เกลือของกรดฟอสฟอริก) ได้แก่ แคลเซียมฟอสเฟต และ
                      แอมโมเนียมฟอสเฟต และ (3) phosphate fertilizers (ปุ๋ยฟอสเฟต)
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134