Page 131 -
P. 131
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
131
phosphoric acid กรดฟอสฟอริก : (2) ชื่อทั่วไปของกรดออโทฟอสฟอริก (orthophosphoric acid, H PO ) หาก
4
3
ไม่ระบุชื่อเป็นอย่างอื่นจะหมายถึงกรดนี้ เพราะรู้จักกันทั่วไปและใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยมากกว่ากรดชนิดอื่น ดู
เพิ่มเติมใน orthophosphoric acid
phosphoric anhydride ฟอสฟอริกแอนไฮดรายด์ : ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ (P O ) เป็น anhydride ของ H PO
3
2 5
4
จึงมีผู้เรียก P O อย่างผิด ๆ ว่ากรดฟอสฟอริก ชื่อทางเคมีที่ถูกต้องของ P O คือ ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ หรือ
2 5
2 5
ฟอสฟอริกแอนไฮไดรด์ ใช้เป็นหน่วยบอกความเข้มข้นของปุ๋ยฟอสเฟต (%P O = %P x 2.29)
2 5
phosphorus ฟอสฟอรัส : ธาตุอาหารประเภทมหธาตุ นํ้าหนักอะตอม 31.0 เซลล์พืชดูดในรูปฟอสเฟตไอออน
2-
(H PO , HPO ) มีความเข้มข้นในพืช 0.1-0.4% ธาตุนี้เป็นองค์ประกอบของ ATP กรดนิวคลีอิก (DNA และ
-
4
2
4
RNA) โคเอนไซม์หลายชนิด นํ้าตาลฟอสเฟต และฟอสโฟลิพิด ระดับวิกฤติของฟอสฟอรัสในพืชทั่วไป 0.15-
0.20% เนื่องจากเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้ดี อาการขาดธาตุนี้จึงปรากฏที่ใบแก่ ส่วนระดับวิกฤติในดิน
คือ ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 20-30 มก.P/กก.ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
phosphorus acid กรดฟอสฟอรัส: กรดของธาตุฟอสฟอรัสซึ่งมีสูตรเคมี H PO
3
3
phosphorus fertilizer ปุ๋ยฟอสฟอรัส : มีความหมายเหมือนกับ phosphate fertilizer
phosphorus fixation การตรึงฟอสฟอรัส : มีความหมายเหมือนกับ phosphate fixation
phosphorus mineralization มินเนอราลไลเซชันของฟอสฟอรัส : การแปรสภาพของฟอสฟอรัสรูปอินทรีย์เป็น
ฟอสฟอรัสรูปอนินทรีย์ เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน ทําให้สารประกอบอินทรีย์ฟอสฟอรัส เช่น กรดไฟทิก ไฟ
ทินและอนุพันธ์ของไฟทิน เลซิทิน กรดนิวคลีอิก และฟอสโฟลิพิด สลายตัวเป็นฟอสฟอรัสไอออนอนินทรีย์ เช่น
-
H PO ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช ดูความหมายของ mineralization ประกอบ
4
2
phosphoryl triamide ฟอสฟอริลไตรอะมายด์ : สารประกอบของฟอสฟอรัสซึ่งมีสูตรเคมี PO(NH ) เป็นปุ๋ย
2 3
ฟอสเฟตที่มีเกรดสูงมาก พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยนี้ได้ง่าย และไม่มีปัญหาด้านการเคลื่อนย้ายในดิน
photodegradation การแตกสลายด้วยแสง: การแตกสลายของโมเลกุลพอลิเมอร์ เนื่องจากโมเลกุลดังกล่าวดูด
ซับโฟตอน (photon) จากแสงอาทิตย์ มีการแตกสลาย 2 แบบ คือ (1) กระบวนการทางฟิสิกส์ที่ทําให้มีการเปลี่ยน
รูปแบบผลึกของพอลิเมอร์ และ (2) กระบวนการทางเคมี ทําให้นํ้าหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ลดลงเนื่องจากพันธะ
เคมีถูกตัดขาด
photon โฟตอน : อนุภาค (particle) หรือชุด (packet) ของพลังงานแสง เนื่องจากแสงมีสมบัติเป็นทั้งพลังงานคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic energy) และเคลื่อนที่มาเป็นอนุภาค ซึ่งมีระดับพลังงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
ความยาวคลื่น กล่าวคือโฟตอนที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า จะมีพลังงานสูงกว่าโฟตอนที่มีความยาวคลื่นยาวกว่า เช่น
โฟตอนที่เห็นเป็นสีนํ้าเงินมีพลังงานมากกว่าโฟตอนที่เห็นเป็นสีแดง โดยปรกติคลอโรฟิลล์ดูดโฟตอนในส่วนของสี
แดงและสีนํ้าเงิน แล้วสะท้อนโฟตอนสีเขียวออกมาเข้าตา จึงมองเห็นใบพืชเป็นสีเขียว
photoperiodism การตอบสนองต่อช่วงแสง : การตอบสนองของพืชต่อช่วงความยาวของกลางวัน และช่วงความยาว
ของกลางคืน
photophosphorylation โฟโตฟอสฟอรีเลชัน : กระบวนการสังเคราะห์ ATP จาก ADP และฟอสเฟต (Pi) โดย
เอนไซม์ ATP synthase และพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาแสง