Page 135 -
P. 135

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               135





                    plant nutrients; essential elements; essential nutrient elements ธาตุอาหารพืชหรือธาตุอาหารจําเป็น :
                      ธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของพืช มี 17 ธาตุ คือ คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน สามนี้จากนํ้าและ

                      อากาศ ที่เหลืออีก 13 ธาตุ พืชได้รับจากดินนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ (1) มหธาตุ (macronutrients,

                      macro = ใหญ่) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (ก) ธาตุหลัก (primary nutrients) คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
                      และโพแทสเซียม (ข) ธาตุรอง (secondary nutrients) คือ แคลเซียม แมกนีเซียม และกํามะถัน และ (2) จุลธาตุ

                      หรือธาตุอาหารเสริม (micronutrients, micro = เล็ก) มีอยู่ 8 ธาตุ คือ โบรอน คลอรีน ทองแดง เหล็ก
                     แมงกานีส โมลิบดินัม นิเกิล และสังกะสี

                    plant physiology สรีรวิทยาพืช: การศึกษาเพื่ออธิบายกระบวนการดํารงชีวิตของพืชด้วยหลักการทางฟิสิกส์และเคมี

                    plant response การตอบสนองของพืช: (1) การเปลี่ยนแปลงของพืชเมื่อได้รับสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมที่ไม่
                      เหมาะสม เช่น การขาดนํ้าและขาดธาตุอาหาร เป็นกลไกที่เกิดเพื่อช่วยให้พืชปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่

                      เปลี่ยนแปลง มีระดับ 3 คือ (1) การตอบสนองเชิงโมเลกุล (molecular response) (2) การตอบสนองด้านสรีระ
                      (molecular response) และ (3) การตอบสนองด้านสัณฐานลักษณะ (morphological response)

                    plant response การตอบสนองของพืช: (2) การเปลี่ยนแปลงของพืชเมื่อได้รับปัจจัยที่ขาดแคลนเพิ่มขึ้นระดับต่างๆ

                      จนถึงจุดเพียงพอหรือเกินพอ เช่น การตอบสนองของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจนเมื่อได้รับปุ๋ยไนโตรเจน การตอบสนอง
                      มีระดับ 3 คือ (1) การตอบสนองเชิงโมเลกุล (molecular response) (2) การตอบสนองด้านสรีระ (molecular

                      response) และ (3) การตอบสนองด้านสัณฐานลักษณะ (morphological response) การเติบโตและผลผลิต

                    plant sample ตัวอย่างพืช : เนื้อเยื่อพืชที่เป็นตัวแทนสําหรับการวิเคราะห์ทางเคมี  เพื่อประเมินสถานภาพธาตุ
                      อาหารของพืช  มีข้อกําหนดชัดเจนของส่วนของพืช เช่น ใบ ก้านใบ หรือส่วนยอดของใบ ฯลฯ  ที่ใช้ในการเก็บ

                      ตัวอย่างพืชแต่ละชนิดให้ได้เนื้อเยื่อดัชนี (index tissue)


                    plasma membrane เยื่อหุ้มเซลล์ : เยื่อสองชั้นที่ล้อมรอบเซลล์ โดยอยู่ถัดจากผนังเซลล์เข้าไป (membrane, L

                      แปลว่าผิวหนัง) เยื่อประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด โปรตีนและสารอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต โดยฟอสโฟลิพิดสองชั้นปะ
                      กบกัน แต่ละชั้นหันด้านที่ไม่ชอบนํ้าเข้าหากัน และด้านที่ชอบนํ้าออกข้างนอก กลายเป็นเยื่อลิพิดชั้นคู่ ส่วนโปรตีนมี

                      สองแบบ คือ แบบแรกโมเลกุลสอดทะลุชั้นคู่ของลิพิด และแบบที่สองประกอบอยู่กับด้านใดด้านหนึ่งของเยื่อ หน้าที่
                      ของเยื่อ คือ (1) ควบคุมการเข้าออกของนํ้า ธาตุอาหารและสารอื่นๆ ด้วยโปรตีนขนส่ง และ (2) รับสัญญาณจาก

                      ภายนอก

                    plasmid พลาสมิด : โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) วงแหวนสายคู่ อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรียบางชนิด สามารถเพิ่ม
                      จํานวนได้ด้วยตัวเอง พบพลาสมิดในไรโซเบียมหลายสายพันธุ์ ที่พาสมิดมียีนที่ควบคุมการสร้างปม (nod gene

                      และ nol gene) รวมทั้งยีนที่ควบคุมการตรึงไนโตรเจน (nif gene และ fix gene) ด้วย

                    plasmodesma พลาสโมเดสมา : ช่องที่เชื่อมโยงไซโทพลาซึมของเซลล์ข้างเคียง ช่วยให้สารต่างๆเคลื่อนย้ายไปมาหา
                      กันได้ โดยมีเดสโมทูบูลสอดอยู่ในผนังเซลล์และเชื่อมกับร่างแหเอนโดพลาซึมของเซลล์ข้างเคียง การเชื่อมโยง

                      ดังกล่าวทําให้โพรโทพลาซึมของเนื้อเยื่อมีความต่อเนื่องกัน ซึ่งเรียกว่าซิมพลาสต์ (symplast) (พหูพจน์
                      plasmodesmata, desma. G: ผูกมัดเข้าด้วยกัน)
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140