Page 138 -
P. 138
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
138
polyphosphoric acid กรดพอลิฟอสฟอริก : กรดฟอสฟอริกชนิดใดก็ได้ ที่โครงสร้างของโมเลกุลมีฟอสฟอรัส
ตั้งแต่สองอะตอมขึ้นไป เช่น กรดไพโรฟอสฟอริก (H P O ) กรดไตรพอลิฟอสฟอริก (H P O ) กรดเตตราพอลิ
2 2 7
5 3 10
ฟอสฟอริก (H P O ) เป็นต้น (ดู phosphoric acid ประกอบ)
6 4 13
polypropylene พอลิโพรปิลีน : พอลิเมอร์ของโพรพิลีน (-C H -) มีนํ้าหนักโมเลกุล 25-50 กิโลดาลตัน (kD)
3 6 n
ลักษณะโปร่งแสงถึงทึบแสง จุดหลอมเหลว 120-130°C สามารถอบเพื่อฆ่าเชื้อในอุณหภูมิสูงกว่า 100°C จึงเหมาะ
สําหรับใช้บรรจุปุ๋ยชีวภาพ
polysaccharide พอลิแซ็กคาไรด์ : พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยโนโนแซ็กคาไรด์จํานวนร้อยถึงจํานวนพันหน่วย เช่น
กลูโคสซึ่งเป็นโมโนแซ็กคาไรด์เชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาวจะได้พอลิเมอร์ คือ แป้งหรือเซลลูโลสขึ้นอยู่กับพันธะเคมี
ของการเชื่อม
polysilicic acid กรดพอลิซิลิซิก : พอลิเมอร์ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันของกรดโมโนซิลิซิก
(monosilicic acid) ที่รากพืชดูดได้และเคลื่อนย้ายไปสะสมที่ผนังของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว
pop-up fertilizer; starter fertilizer ปุ๋ยพอพอัพ หรือ ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน : ปุ๋ยเหลวหรือปุ๋ยแข็งที่ใส่ใกล้เมล็ดเมื่อ
หยอดเมล็ด หรือใกล้บริเวณรากพืชเมื่อย้ายกล้า เป็นปุ๋ยที่ละลายนํ้าได้ง่าย มีธาตุหลักทั้งสามธาตุ และดัชนีความ
เค็มตํ่า
porphyrin พอไฟริน : โมเลกุลของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยวงแหวนที่มีไนโตรเจน 4 วง เรียกว่า ไพร์โรล
(pyrrole) อนุพันธ์ของไพร์โรลเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของโมเลกุลฮีโมโกลบิน ไซโทโครม และคลอโรฟิลล์
positive interaction อันตรกิริยาเชิงบวก : อันตรกิริยาของสองปัจจัย (เช่น ปุ๋ยสองชนิด) ที่ใช้ร่วมกัน แต่ได้ผลต่อ
การเจริญเติบโตของพืชมากกว่าผลของแต่ละปัจจัยรวมกัน เนื่องจากแต่ละปัจจัยมีผลเสริมกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ภาวะเสริม (synergism)
post-plant fertilizer ปุ๋ยหลังปลูก : ปุ๋ยที่ใส่หลังจากปลูกพืชแล้ว เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชในช่วงต่อไปจน
ผลิดอกออกผล มีความหมายเหมือน top dressed fertilizer
post-precipitation การตกตะกอนภายหลัง : การตกตะกอนของปุ๋ยเหลวหลังการผลิต เนื่องจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิด
ระหว่างการเก็บ ได้สารประกอบที่ไม่ละลายนํ้า
potash โพแทช : (1) ประวัติ คํานี้มีที่มาจากการใช้ประโยชน์เถ้าไม้จากการหุงต้ม (pot-ash) เนื่องจากในสมัยโบราณ
ใช้เถ้าไม้จากการหุงต้มมาชะเอานํ้าด่างไปทําสบู่ ต่อมาพบว่าในเถ้าไม้มีสารประกอบอย่างหนึ่ง คือ โพแทสเซียม
ออกไซด์ (K O) แต่นิยมเรียกสารนี้ว่า “โพแทช”
2
potash โพแทช : (2) ธรณีวิทยา: เรียกแร่ที่มีธาตุโพแทสเซียมว่า “แร่โพแทช” และใช้ประกอบหน่วยการบอกปริมาณ
ธาตุนี้ในแร่ เช่น แร่ซิลไวต์ (sylvite) มี 63.1%โพแทช (K O)
2
potash โพแทช : (3) ปุ๋ย: เรียกปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมว่า “ปุ๋ยโพแทช” และระบุปริมาณโพแทสเซียมในปริมาณธาตุ
อาหารรับรองว่า “โพแทชที่ละลายนํ้า (%K O) (%K O = %K x 1.20)
2
2