Page 142 -
P. 142

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               142





                    primary producer ผู้ผลิตปฐมภูมิ : สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง เช่น พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นที่สังเคราะห์แสง
                    primary structure โครงสร้างปฐมภูมิ : โครงสร้างพื้นฐาน กรณีของโปรตีน หมายถึงพอลิเพ็บไทด์แบบโซ่เดียว มี

                      ลําดับของกรดอะมิโนในโซ่นั้น

                    problem soils ดินมีปัญหา : ดินที่สมบัติทางเคมีและ/หรือฟิสิกส์ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืช ดังนี้ (1) ดินที่มีปัญหา
                      ทางเคมีได้แก่ ดินกรดจัด ดินด่างจัด ดินเกลือและดินอินทรีย์ และ (2) ดินที่มีปัญหาทางฟิสิกส์ได้แก่ ดินทรายจัด

                      ดินดาน ดินที่มีการขยายตัวและหดตัวมาก ดินที่มีกรวดหินปะปนมาก ดินเหมืองแร่เก่า ดินบนที่ลาดชันเชิงซ้อน ดิน
                      ตื้นและดินลูกรัง

                    procambium โพรแคมเบียม : เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในสุดของรากซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น pericycle, vascular

                      cambium, primary phloem, primary xylem
                    procaryote, prokaryote โพรแคริโอต : สิ่งมีชีวิตซึ่งเซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีเพียงโครโมโซมที่โค้งเป็นวงอยู่ใน

                      ไซโทพลาซึม ได้แก่แบคทีเรียและไซยาโนแบคทีเรีย (เดิมเรียกสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน) คํานี้มาจากภาษาลาติน
                      แปลว่า “ก่อนมีนิวเคลียส”

                    programmed cell death (PCD) โปรแกรมการตายของเซลล์: กลไกที่สิ่งมีชีวิตใช้จัดการทําลายเซลล์ที่ไม่ต้องการ

                      เพื่อการป้องกันตัวหรือการพัฒนาใหม่
                    prosthetic group หมู่พรอสเทติก :โคเอนไซม์ประเภทหนึ่งที่จับเอนไซม์ด้วยพันธะโคเวเลนต์ หากแยกออกไปจะทํา

                      ให้เอนไซม์สูญเสียความสามารถในการเร่งปฏิกิริยา

                    protein โปรตีน : แมโครโมเลกุลซึ่งปะกอบด้วยโซ่พอลิเพ็บไทด์หนึ่งโซ่ขึ้นไป ทําหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์
                      รวมทั้งเป็นเอนไซม์ที่ควบคุมชนิดและอัตราเร็วของปฏิกิริยาเคมีของเซลล์ (proteios, G: การจับกันในเบื้องต้น)

                    protein kinase โปรตีนคิเนส : เอนไซม์ซึ่งทําหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการเคลื่อนย้ายหมู่ฟอสเฟตจาก ATP ให้ไปจับกับ
                     โปรตีนด้านโซ่ข้างที่มีหมู่ไฮดรอกซิล ช่วยให้โปรตีนมีสภาพที่แสดงบทบาทได้ กิจกรรมของโปรตีนคิเนสถูกกระตุ้

                     นด้วยตัวนํารหัสที่สอง (secondary messenger) เช่น Ca-calmodulin อันเป็นบทบาทหนึ่งของแคลเซียม

                    protein phosphatase โปรตีน ฟอสฟาเทส : เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาดึงหมู่ฟอสเฟตออกจากโมเลกุลโปรตีน เพื่อ
                      เปลี่ยนสภาพของโปรตีนให้ไม่พร้อมในการทําปฏิกิริยา

                    protein phosphorylation โปรตีนฟอสฟอริเลชัน: ปฏิกิริยาชีวเคมีซึ่งช่วยเพิ่มหมู่ฟอสเฟตที่กรดอะมิโนบางตัวใน
                      โมเลกุลโปรตีน ซึ่งเร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์โปรตีนคิเนส (protein kinase) เพื่อปรับเปลี่ยนโครงรูปของโมเลกุล

                      โปรตีน ให้พร้อมสําหรับการเกิดปฏิกิริยาขั้นต่อไป

                    protein structure โครงสร้างโปรตีน: การจัดเรียงโมเลกุลของโปรตีนให้เหมาะกับการทําหน้าที่ มี 4 แบบ คือ (1)
                     โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) (2) โครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structure) (3) โครงสร้างตติยภูมิ

                     (tertiary structure) และ (4) โครงสร้างจตุรภาค (quaternary structure) ดูคําอธิบายในแต่ละข้อ

                    proteoid root รากโปรตีออยด์: รากที่มีรากแขนงแตกออกมาเป็นกระจุกคล้ายขนแปรง รากแขนงแต่ละรากมีขนราก
                     หนาแน่น พืชวงศ์ Proteaceae พัฒนารากลักษณะนี้เมื่ออยู่ในภาวะขาดฟอสฟอรัส

                    proton โปรตอน: หน่วยพื้นฐานของสสารมีประจุบวก เป็นองค์ประกอบหนึ่งในนิวเคลียสของอะตอมทุกชนิด ใช้
                                      +
                     สัญลักษณ์ p หรือ H
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147