Page 143 -
P. 143
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
143
+
proton pump ตัวสูบโปรตอน : โปรตีนขนส่งชนิดหนึ่งทําหน้าขับเคลื่อนโปรตอน (H ) จากด้านหนึ่งผ่านเยื่อไปอีก
ด้านหนึ่ง โดยใช้พลังงานจาก ATP เพื่อสร้างศักย์เยื่อให้เหมาะสมกับการขนส่งไอออนหรือโมเลกุลโดยโปรตีนขนส่ง
ชนิดอื่น
proton pumping การสูบโปรตอน : กิจกรรมการสูบโปรตอนของตัวสูบโปรตอน
protoplasm โพรโทพลาซึม : ส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมด ประกอบด้วยไซโทพลาสซึม
และนิวเคลียส (protos-, G: แรกเริ่ม; -plast, -plasm, L: รา, ปัจจัยแสดงว่ารูปร่าง มีชีวิต)
protoplast โพรโทพลาสต์ หรือ เซลล์ไร้ผนัง: เซลล์ที่ปราศจากผนังเซลล์ (cell wall) เหลือแต่
เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ห่อหุ้มองค์ประกอบของเซลล์เอาไว้ ได้มาโดยการกําจัด
ผนังเซลล์ ซึ่งมี 2 วิธี คือ วิธีกล (mechanical method) และวิธีย่อยด้วยเอนไซม์ (enzymatic
method) เมื่อนําโพรโทพลาสต์ไปเพาะเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสม ก็สามารถสร้างผนังเซลล์ขึ้น
ใหม่และมีการแบ่งเซลล์จนสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ได้
pyrite ไพไรต์ : แร่ซึ่งประกอบด้วยเหล็กและกํามะถัน (iron pyrites, FeS ) เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดซัลฟิวริก
2
เมื่อนําแร่มาเผาจะให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
pyrolusite ไพโรลูไซต์ : แร่ที่มี MnO เป็นองค์ประกอบ
2
pyrophosphate ไพโรฟอสเฟต : สารประกอบฟอสเฟตซึ่งผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างกรดไพโรฟอสฟอริก
(H P O ) กับแอนไฮดรัสแอมโมเนียหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ กรดไพโรฟอสฟอริกเป็นผลจากการรวมตัวของ
4 2 7
กรดออโทฟอสฟอริกสองโมเลกุล ในปุ๋ยพอลิฟอสเฟตมีสารประกอบไพโรฟอสเฟตเป็นส่วนสําคัญ (pyro-, L:เผา
หรือร้อน)
……………………………………………………..