Page 140 -
P. 140

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               140





                    potassium nitrate; salt peter, nitrate of potash โพแทสเซียมไนเทรต (KNO ) : ปุ๋ยโพแทชซึ่งผลิตได้จาก
                                                                                    3
                      ปฏิกิริยาระหว่างกรดไนทริกกับโพแทสเซียมคลอไรด์ เกลือบริสุทธิ์จะมี 13.68%N และ 46.58%K O
                                                                                               2
                    potassium oxide โพแทสเซียมออกไซด์ (K O) : ดูคําอธิบายใน potash
                                                       2
                    potassium phosphate โพแทสเซียมฟอสเฟต  : ปุ๋ยโพแทสเซียมฟอสเฟตมี 3 รูป คือ mono potassium
                      phosphate (KH PO ); dipotassium phosphate  (K HPO ) และ tripotassium phosphate (K PO ) เมื่อ
                                                                                                  3
                                      4
                                   2
                                                                2
                                                                                                     4
                                                                     4
                      เปรียบเทียบแล้วโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (0-52-34) มีการใช้เป็นปุ๋ยทางใบและปุ๋ยทางระบบชลประทานมากกว่า
                      อีกสองชนิด
                    potassium polyphosphate โพแทสเซียมพอลิฟอสเฟต  : ปุ๋ยโพแทชซึ่งผลิตจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของโม
                      โนและไดโพแทสเซียมฟอสเฟต ได้สารประกอบ เช่น K P O  ซึ่งละลายได้เกือบ 100% ปุ๋ยที่ได้มีเกรด 0-50-40
                                                               4 2 7
                    potassium sulfate; sulfate of  potash โพแทสเซียมซัลเฟต  (K SO )   :  ปุ๋ยเกรด 0-0-50  สารบริสุทธิ์มี
                                                                            4
                                                                         2
                      54.05%K O “ปุ๋ยเคมีมาตรฐานต้องมีโพแทชที่ละลายนํ้าไม่ตํ่ากว่า 48%K O เป็นผงหรือเกร็ดสีขาว/ขาวปนเหลือง/
                             2
                                                                            2
                      นํ้าตาลแดง ไม่เติมสี” มีซัลเฟตเป็นองค์ประกอบหลัก และคลอไรด์เจือปนได้ไม่เกิน 2.5% เหมาะกับพืชที่ไม่ชอบ
                      คลอไรด์

                    potassium transporter พาหะขนส่งโพแทสเซียม: โปรตีนขนส่งที่เยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ที่มี
                      ความจําเพาะเจาะจงต่อการขนส่งโพแทสเซียมไอออน

                    potential crop yield ศักย์ผลผลิตพืช : ผลผลิตสูงสุดที่พืชพันธุ์หนึ่งสามรถให้ได้ เมื่อปลูกในสภาพซึ่งเหมาะสม

                      ที่สุดทุกด้าน หรือไม่มีปัจจัยใดเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้น
                    potential energy พลังงานศักย์ : พลังงานที่อยู่ในวัตถุตามตําแหน่งที่วัตถุนั้นอยู่ หรือตามองค์ประกอบทางเคมีของ

                      วัตถุนั้น
                    poultry manure มูลสัตว์ปีก : สิ่งขับถ่ายของสัตว์ปีกรวมกับวัสดุรองพื้นคอก เช่น แกลบ ขี้เลื่อยหรือวัสดุอื่น

                      ปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ปีกแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ ชนิดของอาหารที่ใช้ตลอดจนชนิดและปริมาณของ

                      วัตถุรองพื้นคอกที่ปะปน
                    powder fertilizer ปุ๋ยผง : ปุ๋ยอนุภาคละเอียด กําหนดพิกัดบน (เช่น 3 มม.) แต่มิได้กําหนดพิกัดล่าง

                    precipitated phosphate  ตะกอนฟอสเฟต : ไดแคลเซียมฟอสเฟต (CaHPO ) ผลิตจากปฏิกิริยาระหว่างกรด
                                                                                 4
                      ฟอสฟอริกกับปูน ไม่ละลายนํ้าจึงตกตะกอน มีฟอสเฟต 42%P O  ที่ผลิตเป็นการค้าเป็นไดไฮเดรต
                                                                     2 5
                      (CaHPO .2H O) ใช้ผสมกับอาหารสัตว์
                                2
                             4
                    precision agriculture การเกษตรแบบแม่นยํา precision farming การทําฟาร์มแบบแม่นยํา : ระบบการผลิต
                      พืชที่รวมเทคโนโลยีหลายด้านมาใช้ประโยชน์ เช่น ภาพถ่ายจากดาวเทียม การทําแผนที่ผลผลิต (yield mapping)

                      โดยใช้เครื่องกําหนดตําแหน่งบนโลก ให้ความสําคัญกับความแปรผันเชิงพื้นที่ ใช้ระบบที่มีความแม่นยําสูง มา

                      กําหนดการใส่ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีแบบอัตราแปรผันได้ (variable rate) ให้สอดคล้องกับระดับความเป็น
                      ประโยชน์ของแต่ละธาตุในพื้นที่แต่ละส่วน ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจ ด้านการจัดการแปลงพืชอย่างถูกต้อง

                    preemergence application การใส่ปุ๋ยก่อนเมล็ดงอก : การใส่ปุ๋ยก่อนหยอดเมล็ด เพื่อให้รากพืชดูดไปใช้ประโยชน์
                      ตั้งแต่ระยะต้นอ่อน
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145