Page 136 -
P. 136

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               136





                    plasmodesmata-pore unit หน่วยของช่องในพลาสโมเดสมาตา: โครงสร้างของพลาสโมเด
                       สมาตาในโฟลเอ็มซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ ด้านเซลล์ลําเลียงอาหาร (sieve element) เป็นช่อง

                       เดี่ยวขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับช่องด้านเซลล์ประกบ (companion cell) ซึ่งมีหลายแขนง

                    plasmolysis พลาสมอลิซิส : สภาพที่เซลล์สูญเสียนํ้าจนเยื่อหุ้มเซลล์ย่นออกไปจากผนังเซลล์  เกิดเมื่อมีปริมาณนํ้า
                      สุทธิไหลออกจากเซลล์

                    plastic coated urea ยูเรียเคลือบพลาสติก : ยูเรียปลดปล่อยช้าในอัตราที่ควบคุมได้เนื่องจากที่ผิวเม็ดปุ๋ยมี
                      พลาสติกบาง ๆ เคลือบอยู่ สารเคลือบเป็น themoplastic resin ผสม surfactant additive  ปุ๋ยนี้มีไนโตรเจน

                      ทั้งหมดประมาณ 40%

                    plastid พลาสทิด : ออร์แกเนลล์สะสมสารหรือสารสี (pigment) ของเซลล์พืช ลักษณะกลมหรือรี มีเยื่อหุ้ม แบ่งเป็น
                      3 แบบตามประเภทสารสีที่ละสม ได้แก่ (1) โครโมพลาสต์ (chromoplast) มีสีต่าง ๆ เกิดจากสารสีหลายชนิด เช่น

                      แคโรทีนอยด์ ทําให้เกิดสีบนดอกไม้ (2) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) มีสีเขียว เกิดจากสารสีคือ คลอโรฟิลล์  (3)
                      ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ไม่มีสี เพราะไม่มีสารสี ทําหน้าที่สะสมเม็ดแป้งจากกระบวนการสังเคราะห์แสง

                    plastocyanin พลาสโทไซยานิน : โปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีทองแดงเป็นองค์ประกอบ ทําหน้าที่อยู่ในโซ่การเคลื่อนย้าย

                      อิเล็กตรอนในระบบแสง II ของกระบวนการสังเคราะห์แสง โดยรับอิเล็กตรอนจาก cytochrome complex
                    plastoquinone พลาสโทควิโนน: สารอินทรีย์ในกลุ่ม isoprenoid quinone ทําหน้าที่ในโซ่การเคลื่อนย้าย

                      อิเล็กตรอนในระบบแสง II ของกระบวนการสังเคราะห์แสง โดยส่งอิเล็กตรอนให้ cytochrome complex

                    plow-down fertilizer ปุ๋ยพรวนกลบ : ปุ๋ยที่ใส่บนผิวดินแล้วไถพรวนให้ลงไปอยู่ใต้ผิวดินด้วย moldboard plow
                      เพื่อให้ชั้นดินล่างที่ปุ๋ยคลุกเคล้าลงไปมีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงขึ้น

                    pneumatophore รากหายใจ : รากพิเศษของพืชในที่ชุ่มนํ้า เช่น โกงกาง ซึ่งแทงผ่านผิวดินขึ้นมาในอากาศ ทําหน้าที่
                      ดูดออกซิเจน

                    polar molecule โมเลกุลมีขั้ว : โมเลกุลที่การกระจายของประจุบวกและประจุลบไม่สมํ่าเสมอ เช่น โมเลกุลนํ้า

                      เนื่องจากออกซิเจนเป็นอะตอมที่ชอบอิเล็กตรอน (electrophilic atom) จึงดึงอิเล็กตรอนเข้ามาใกล้มันมากกว่า
                      ไฮโดรเจน โมเลกุลของนํ้าด้านออกซิเจนจึงมีขั้วลบ ส่วนด้านไฮโดรเจนเป็นขั้วบวก

                    pollen tube หลอดละอองเรณู: หลอดที่งอกแล้วยืดออกจากละอองเรณูไปตามก้านเกสรเพศเมียเข้าสู่รังไข่ เพื่อนํา
                      สเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปผสมกับไข่ในโอวูล (ovule) การงอกใช้โบรอน ส่วนการยืดให้ยาวออกไปจนถึงที่หมายใช้

                      แคลเซียม

                    pollination การถ่ายเรณู: กระบวนการที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย
                    polyols พอลิออล: แอลกอฮอล์ที่ทําปฏิกิริยากับโบรอนได้ “โบรอน-พอลิออล คอมเพล็ก (B-polyol complex)” เป็น

                      รูปของโบรอนที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้ง่าย

                    pollen grain ละอองเรณู : แกมีโทไฟต์เพศผู้ของพืชมีเมล็ดซึ่งผลิตขึ้นในอับเรณู ในละอองเรณูมีไมโครสปอร์ซึ่งเมื่อ
                      ผสมกับออวุลจะได้เมล็ด การงอกของละอองเรณูต้องการธาตุโบรอน
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141