Page 145 -
P. 145
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
145
R
4R-plant nutrition ความถูกต้อง 4 ประการด้านธาตุอาหารพืช: R ย่อมาจาก right ความถูกต้อง 4 ประการด้าน
ธาตุอาหารพืช คือ การใส่ปุ๋ยเพื่อจัดการธาตุอาหารพืชอย่างถูกต้อง ได้แก่ (1) right source: ชนิดปุ๋ยถูกต้อง คือ
ปุ๋ยมีธาตุอาหารตรงกับที่ดินขาดแคลน (2) right rate: อัตราปุ๋ยถูกต้อง คือ ใส่ในอัตราที่ให้ธาตุอาหารสอดคล้อง
กับผลการวิเคราะห์ดิน (3) right time: จังหวะเวลาการใส่ปุ๋ยถูกต้อง คือ ให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ขาด เหมาะกับ
ระยะการเจริญเติบโต และ (4) right place: บริเวณถูกต้อง คือ ใส่ปุ๋ยในดินบริเวณที่รากพืชดูดธาตุอาหารไปใช้ได้
มาก
rain fed cultivation การเพาะปลูกในเขตนํ้าฝน : ระบบการเพาะปลูกที่อาศัยนํ้าฝนเพียงอย่างเดียว
rapid composting technology เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบรวดเร็ว : เทคโนโลยีที่ใช้เร่งอัตราการสลายของ
เศษซากพืช เยื่อลดระยะเวลาการผลิตปุ๋ยหมัก ประกอบด้วย (1) ใช้วัสดุชิ้นเล็กเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว (2) ลด C:N ratio
โดยใส่เศษพืชหรือมูลสัตว์ที่ C:N ratio แคบ (3) ใส่เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยเซลลูโลสและสารที่
สลายยากอื่นๆ (4) กลับกองคลุกเคล้าเพื่อให้ทุกส่วนของกองสลายตัวอย่างทั่วถึง และ (5) ควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้นและการถ่ายเทอากาศให้พอเหมาะ
rare earth elements ธาตุหายาก: ธาตุที่มีน้อยในธรรมชาติ ได้แก่ธาตุสแคนเดียม (scandium, Sc) อิตเทรียม
(yttrium, Y) และธาตุในอนุกรมแลนทาไนด์ (lanthanide series) เนื่องจากมีสมบัติคล้ายธาตุแลนทานัม
(lanthanum, La) ธาตุในอนุกรมแลนทาไนด์อยู่ในคาบที่ 6 มี 15 ธาตุ
ratio อัตราส่วน : การเปรียบเทียบปริมาณระหว่างของสองอย่าง ว่าปริมาณของสิ่งแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ
สิ่งที่สอง ที่กล่าวถึงมาก คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณคาร์บอนกับบางธาตุในสารอินทรีย์ ซึ่งมี 3 อย่าง คือ
อัตราส่วนระหว่าง (1) ปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอน (organic C) กับปริมาณสารอินทรีย์ไนโตรเจน (organic N)
หรือ C:N ratio (2) ปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอน กับปริมาณสารอินทรีย์ฟอสฟอรัส (organic P) หรือ C:P ratio
และ (3) ปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอน กับ ปริมาณสารอินทรีย์กํามะถัน (organic S) หรือ C:S ratio เนื่องจากมี
อิทธิพลต่อกระบวนการมินเนอราลไลเซชันของ N,P และ S ในสารอินทรีย์ที่ใส่ในดิน
raw material วัตถุดิบ : สารตั้งต้นของการผลิต เช่น การผลิตปุ๋ยเคมีที่มีธาตุหลัก (N,P,K) เป็นองค์ประกอบ ใช้
วัตถุดิบ เช่น แอมโมเนีย กรดฟอสฟอริก กรดไนทริก หินฟอสเฟต และแร่โพแทช หรือสารที่ไม่มีธาตุหลัก เช่น
มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และกรดซัลฟิวริก เป็นต้น
reactant ตัวทําปฏิกิริยา : สารที่เข้าร่วมในปฏิกิริยาเคมี
reaction center ศูนย์ปฏิกิริยา : กลุ่มโมเลกุลอันเป็นที่เกิดปฏิกิริยาแสงในกระบวนการสังเคราะห์แสง มี 2 ส่วน คือ
(1) คลอโรฟิลล์ เอ (มีไนโตรเจนและแมกนีเซียม) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่รวบรวมพลังงานจากโฟตอนมากพอจน
อิเล็กตรอนที่มีสถานะถูกกระตุ้น (excited electron) กระโดดออกไป และ (2) ตัวรับอิเล็กตรอนปฐมภูมิ
(primary electron acceptor) ซึ่งดูดซับอิเล็กตรอนนั้นไว้ (ดูเพิ่มเติมจาก photosystem)