Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
149
rhizosphere ไรโซสเฟียร์ : มวลดินที่อยู่รอบๆรากซึ่งได้รับอิทธิพลจากกิจกรรมและเมแทบอลิซึมของราก มีกิจกรรม
ของจุลินทรีย์สูงกว่าดินบริเวณที่ห่างออกไปนอกเขตนี้ แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ (1) ชั้นของเซลล์รากพืช
(endorhizosphere) (2) บริเวณผิวรากของระบบราก (rhizoplane) และ (3) บริเวณรอบๆราก
(ectorhizosphere) ในแต่ละบริเวณมีจุลินทรีย์อาศัยและมีความสัมพันธ์กับรากพืช
riboflavin ไรโบเฟลวิน: วิตามิน B มีสูตร C H N O สารอินทรีย์ผลึกสีส้มปนเหลือง สภาพละลายนํ้า 12 มก./
2
17 20 4 6
นํ้า 100 มล. ไม่ละลายในนํ้ามัน จุลินทรีย์บางชนิดเช่น Azotobacter, Azospirillum และ Rhizobium
สังเคราะห์ได้
ribonucleic acid กรดไรโบนิวคลีอิก: สารอินทรีย์อักษรย่อว่า RNA โมเลกุลแบบเกลียวคล้าย DNA เพียงแต่
นํ้าตาลเป็นไรโบส และ เบสต่างกัน 1 ตัว มีบทบาทสําคัญในการสังเคราะห์โปรตีน มี 3 ชนิด คือ messenger
RNA, transfer RNA และ ribosomal RNA
ribosome ไรโบโซม : ออร์แกเนลล์ในไซโทพลาซึม ทําหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน ภายใต้
การกําหนดทางพันธุกรรมของ RNA นํารหัส ( ribo มาจาก ribonucleic acid; some, L: ลําตัว
ตัวตน)
riffle เครื่องแบ่งตัวอย่าง : อุปกรณ์ที่ใช้แบ่งตัวอย่างปุ๋ยหรือวัสดุที่เป็นอนุภาค ออกเป็นตัวอย่างย่อยที่มีปริมาณ
เท่ากัน และส่วนผสมเหมือนกัน ใช้อุปกรณ์นี้แบ่งตัวอย่างปุ๋ยปริมาณมาก ให้มีปริมาณพอเหมาะสําหรับส่งไป
วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติ (ภาพที่ R1)
ภาพที่ R1 เครื่องแบ่งตัวอย่างปุ๋ย
RNA อาร์เอ็นเอ : อักษรย่อของ ribonucleic acid
rock phosphate หินฟอสเฟต : หินที่มีแร่ฟอสเฟต เช่น แร่อะพาไทต์เป็นองค์ประกอบ มีความหมายเหมือนกับ
phosphate rock
root cap หมวกราก : ชั้นของเซลล์ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อเจริญของปลายราก ในขณะที่รากรากดันเพื่อแหวกดิน
ตอนยืดตัว เซลล์โคลูเมลลา (columella cells) ในหมวกรากเป็นเซลล์ที่รับรู้สัญญาณจากความถ่วง ส่วนการ
ตอบสนองเหตุความถ่วง (gravitrpism) นั้น ออกซินและแคลเซียมมีบทบาทสําคัญ
root exudates เอ็กซูเดตจากราก : สารต่างๆที่รากขับออกมา ประกอบด้วยกรดอะมิโน นํ้าตาลรีดิวซ์ (reducing
sugar) และกรดอินทรีย์ต่างๆ สารเหล่านี้ช่วยเร่งการเจริญเติบและเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในไรโซสเฟียร์
(rhizosphere)