Page 146 -
P. 146
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
146
reactive oxygen species ออกซิเจนชนิดว่าไวต่อปฏิกิริยา: อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์
เนื่องจากมีมูลเหตุจากออกซิเจน ได้แก่ superoxide anion, hydrogen peroxide และ
hydroxyl radical เซลล์พืชมีความเครียดเพราะสะสมออกซิเจนชนิดว่องไวต่อ
ปฏิกิริยาไว้มากเกินไป ธาตุอาหารที่มีบทบาทในระบบต้านออกซิเดชันและทําลายอนุมูลอิสระ
ได้แก่ กํามะถัน แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี
reactors ถังหรือท่อปฏิกรณ์ : อุปกรณ์ในโรงงานผลิตปุ๋ย ที่วัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาทําปฏิกิริยาเคมีกัน ทําด้วยวัสดุที่
ทนต่อการกัดกร่อนของกรดและด่าง รองรับวัตถุดิบในรูปของแข็ง ของเหลวหรือแก๊สเข้ามาทําปฏิกิริยา มีตัวเร่ง
ปฏิกิริยา ปรับอุณหภูมิ ความดัน และอัตราการไหลของสารเข้าหรือออกได้
receptor protein โปรตีนตัวรับ: โปรตีนที่เกาะอยู่ด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์ ทําหน้าที่รับสารที่ไม่สามารถผ่านเข้าไป
ในเซลล์ ด้วยการผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เช่น ฮอร์โมน หรือสัญญาณจากภายนอกเพื่อสื่อสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อม
reciprocal salt pairs คู่เกลือต่างชนิด : เกลือผสมสองชนิดที่ไม่มีไอออนเหมือนกันเลย อาจเป็นคู่ที่ไม่เสถียรหรือ
เสถียรก็ได้เช่น (1) คู่ไม่เสถียร: โพแทสเซียมซัลเฟตกับแคลเซียมไนเทรต เนื่องจากสามารถทําปฏิกิริยากันใน
สารละลายแล้วได้เกลือใหม่ คือ แคลเซียมซัลเฟตซึ่งตกตะกอน (2) คู่เสถียร: โพแทสเซียมไนเทรตและ
แอมโมเนียมคลอไรด์ แม้จะทําปฏิกิริยากันผลที่ได้ก็ละลายนํ้า ไม่มีการตกตะกอน
recycle แปรใช้ใหม่ : แยกและนําสิ่งที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ในระบบ ดังตัวอย่างเรื่องปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ (1)
เรื่องปุ๋ยเคมี: เช่น หมุนเวียนแอมโมเนียในกระบวนการผลิตยูเรีย และแยกปุ๋ยเม็ดเล็กมาปั้นเม็ดใหม่ และ (2 )
เรื่องปุ๋ยอินทรีย์: นําของเสีย เช่น มูลสัตว์ และของเหลือในฟาร์ม เช่น เศษพืชมาบํารุงดินโดยตรง หรือนํามาผลิตปุ๋ย
หมัก
redox potential (Eh) ศักย์ไฟฟ้ ารีดอกซ์ : ตัวชี้วัดทางเคมีไฟฟ้าซึ่งบอกสถานะด้านออกซิเดชันหรือรีดักชันของ
ระบบ วัดเป็นโวลต์ (volt) หรือมิลลิโวลต์ (millivolt) ค่า Eh ของดินแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ (1) ค่า +800 ถึง +450
มิลลิโวลต์ (millivolts, mv) มีออกซิเจนในดิน กระบวนการไนทริฟิเคชันเกิดขึ้นได้ดี และอินทรียวัตถุสลายได้เร็ว,
(2) ค่า +450 ถึง 0 มิลลิโวลต์ ออกซิเจนในดินน้อย การสลายตัวของอินทรียวัตถุช้า ถ้า pH ของดินตํ่าปฏิกิริยา
รีดักชันจะเกิดขึ้นเร็ว, (3) ค่า 0 ถึง -200 มิลลิโวลต์ ดินขาดออกซิเจน การสลายตัวของอินทรียวัตถุเกิดจาก
กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ใช้ไนเทรต แมงกานีสออกไซด์ เหล็กออกไซด์ ซัลเฟตเป็นตัวรับ
อิเล็กตรอน และ (4) ค่า -200 ถึง -300 มิลลิโวลต์ ดินมีสภาพรีดักชันอย่างสมบูรณ์ การสลายตัวของอินทรียวัตถุ
ได้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H S) หรือมีเทน
2
redox reaction ปฏิกิริยารีดอกซ์ : ปฏิกิริยาซึ่งธาตุของสารที่เข้าทําปฏิกิริยามีการรับหรือให้อิเล็กตรอน ประกอบด้วย
สองครึ่งปฏิกิริยา (half reactions) คือ ออกซิเดชันและรีดักชันเกิดควบคู่กัน มีการเปลี่ยนแปลงสองลักษณะ คือ
(1) การสูญเสียอิเล็กตรอนจากอะตอมหรือโมเลกุลหนึ่ง (oxidation) ไปเพิ่มให้อะตอมหรือโมเลกุลอื่น (reduction)
หรือ (2) ในสารประกอบชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนขยับห่างออกไปจากนิวเคลียสของอะตอมหนึ่ง (partial oxidation)
ไปเข้าใกล้นิวเคลียสของอีกอะตอมหนึ่ง (partial reduction)
reduced nitrogen ไนโตรเจนรูปรีดิวซ์ : ไนโตรเจนรูปอะมิโน (-NH ) แอมโมเนีย (NH ) หรือแอมโมเนียม (NH )
+
2
4
3
ส่วนไนโตรเจนรูปออกซิไดส์ได้แก่ไนเทรต (NO )
-
3