Page 151 -
P. 151

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               151





                                                                S



                    S : สัญลักษณ์ของธาตุกํามะถัน (sulfur หรือ sulphur )

                    saline soil ดินเค็ม : ดินเกลือ (salt-affected soil) ประเภทหนึ่ง มีเกลือที่ละลายง่ายสะสมมากจนเป็นพิษต่อพืช

                      การนําไฟฟ้าของดินที่สกัดเมื่ออิ่มตัวด้วยนํ้า (EC ) สูงกว่า 4 เดซิซีเม็น/เมตร (dS/m) โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ตํ่า
                                                          e
                      กว่า 15% หรืออัตราส่วนโซเดียมที่ดูดซับ (sodium adsorption ratio, SAR) ตํ่ากว่า 13

                    salinization การสะสมเกลือ : กระบวนการเพิ่มเกลือที่ละลายได้ในดิน เกลือที่สะสมมาจากแหล่งธรรมชาติ หรือการ
                      กระทําของมนุษย์ เป็นเหตุให้เกลือในดินเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นดินเค็ม

                    salt-affected soil ดินเกลือ : ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือ โดยมีเกลือที่ละลายง่ายมาสะสมมาก

                       ขึ้น ดินธรรมดาจึงกลายเป็นดินเค็ม (saline soil) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นดินเค็มโซดิก
                       (saline sodic soil) และดินโซดิก (sodic soil)

                    salt bridge สะพานเกลือ : ผลึกของเกลือที่ทําให้เกิดการเชื่อมประสานให้อนุภาคหรือเม็ดปุ๋ยซึ่งอยู่ใกล้เคียงติดกัน
                      แน่น เกิดขึ้นเมื่อปุ๋ยดูดความชื้นไว้ที่ผิวเม็ดปุ๋ยทําให้เนื้อปุ๋ยบริเวณนั้นละลายและสารละลายที่ผิวของเม็ดข้างเคียง

                      ต่อเชื่อมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน  ต่อมาเมื่อเม็ดปุ๋ยแห้งลงเกลือในสารละลายก็ตกผลึก  เม็ดปุ๋ยข้างเคียงจึงถูก

                      เชื่อมด้วยผลึกเกลือกลายเป็นก้อนโต (ภาพที่ S1)














                                                     ผลึกเกลือที่เชื่อมเม็ดปุ๋ ย

                                            ภาพที่ S1 สะพานเกลือคือผลึกของสารประกอบในปุ๋ย


                    salt index ดัชนีความเค็ม  : ค่าในเชิงเปรียบเทียบที่บอกแนวโน้มว่าปุ๋ยชนิดหนึ่งจะเพิ่มความดันออสโมซิสของ

                      สารละลายดินได้สูงกว่าหรือตํ่ากว่าโซเดียมไนเทรต (NaNO ) เมื่อใช้เกลือนี้และปุ๋ยนํ้าหนักเท่ากัน หากปุ๋ยมีค่าดัชนี
                                                                  3
                      ความเค็มสูง ความดันออสโมซิสของสารละลายนั้นย่อมสูงด้วย  ถ้ามีอยู่ในดินเป็นปริมาณมากจะเป็นเหตุให้เซลล์
                      ของรากพืชขาดความเต่งหรือพืชเหี่ยวเฉา

                    salt injury อันตรายจากเกลือ : ความเสียหายที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ยอดอ่อนหรือใบ เมื่อพืชสะสมเกลือ
                      บางชนิด ในเนื้อเยื่อดังกล่าวเกินระดับที่สามารถทนได้ เกิดกับพืชที่ไวต่อเกลือ ที่ปลูกในดินเค็ม หรือพืชทั่วไปที่ฉีด

                      พ่นปุ๋ยทางใบ ด้วยสายละลายปุ๋ยซึ่งมีความเข้มข้นสูงเกินไป
                    salt-out temperature อุณหภูมิตกผลึก : อุณหภูมิที่เกลือในสารละลายตกผลึก สําหรับปุ๋ยเหลว หมายถึงอุณหภูมิ

                      ค่าหนึ่งซึ่งหากตํ่ากว่านี้ปุ๋ยที่เคยละลายจะเริ่มตกผลึก และหากสูงกว่านี้ผลึกปุ๋ยที่มีอยู่จะละลายได้อีก
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156