Page 147 -
P. 147
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
147
reduced soil layer ชั้นดินรีดิวซ์ : ชั้นดินซึ่งขาดออกซิเจน ค่าศักย์ไฟฟ้ารีดอกซ์เป็นลบ (เช่น ดินที่มีนํ้าขัง) มีผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น (1) การสูญเสียไนโตรเจนจากกระบวนการดีไนทริฟิเคชัน
(denitrification) และ (2) ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส เหล็กและแมงกานีสสูงขึ้น
reduction รีดักชัน : ครึ่งปฏิกิริยา (half reaction) ซึ่งธาตุในสารประกอบรับอิเล็กตรอนเข้ามา หรือมีเลขออกซิเดชัน
ลดลง
regulatory service บริการตรวจสอบคุณภาพ : การให้บริการตามระเบียบในการชักตัวอย่างปุ๋ยเพื่อวิเคราะห์ เป็น
มาตรการควบคุมมาตรฐานปุ๋ยวิธีหนึ่ง ดู sampling fertilizer ประกอบ
regular superphosphate ซูเปอร์ฟอสเฟตธรรมดา (0-20-0) : ดูคําอธิบายใน superphosphate
relative neutralizing value ค่าการทําให้เป็นกลางสัมพัทธ์ของปูน (%) : ดูคําอธิบายใน calcium carbonate
equivalent
relative humidity ความชื้นสัมพัทธ์ : ปริมาณไอนํ้าในอากาศขณะใดขณะหนึ่งคิดเป็นร้อยละเมื่อเทียบกับปริมาณ
ไอนํ้าสูงสุดที่จะมีได้ในอากาศ ณ อุณหภูมิที่กําหนดให้
relay intercropping, relay planting, relay cropping การปลูกพืชร่วมกันแบบเหลื่อมเวลา : ระบบการปลูก
พืชที่มีลําดับของการปลูกดังนี้ ปลูกพืชชนิดแรกจนถึงระยะเจริญพันธุ์ จึงปลูกพืชชนิดที่สองแทรกลงไประหว่างแถว
ของพืชชนิดแรก
renewable resource ทรัพยากรใช้ไม่หมดเปลือง : ทรัพยากรที่แม้จะนําไปใช้ก็ไม่หมดไป เนื่องจากวงจรตาม
ธรรมชาติเป็นไปรวดเร็ว หรือสามารถทดแทนกลับมาให้ใช้ใหม่ได้ตลอดเวลา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) ประเภท
ใช้แล้วไม่หมดเปลืองหรือสูญหาย (inexhaustible natural resources) ได้แก่บรรยากาศและนํ้าที่อยู่ในวัฏจักร
และ (2) ประเภททดแทนได้หรือรักษาไว้ได้ (replaceable and maintainable natural resources) เช่น นํ้าซึ่งอยู่
ณ ที่ใดที่หนึ่ง ดิน ที่ดิน ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่าและกําลังงานมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ ต้องมีการ
อนุรักษ์และจัดการที่ดีจึงจะมีความยั่งยืน
reproductive growth การเติบโตด้านการเจริญพันธุ์: การเติบโตของพืชที่เริ่มจากการพัฒนาตาดอก ไปจนผลสุก
แก่ ธาตุอาหารที่มีบทบาทสําคัญได้แก่ โพแทสเซียม แคลเซียม โบรอน ทองแดงและแมงกานีส
residual acidity (or basicity) of fertilizer สภาพกรด (หรือสภาพด่าง) ตกค้างของปุ๋ย : สภาพกรดขั้นสุดท้าย
ที่เกิดขึ้นในชั้นดินเนื่องจากการใช้ปุ๋ยก่อกรด หรือสภาพด่างขั้นสุดท้ายที่เกิดขึ้นในชั้นดินเนื่องจากการใช้ปุ๋ยก่อด่าง
ในกรณีการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซึ่งเป็นปุ๋ยก่อกรดในดินชนิดหนึ่งและพืชชนิดหนึ่ง ระดับของสภาพกรดตกค้างจากใช้
ปุ๋ยแอมโมเนียม (หลังการเก็บเกี่ยวพืช) ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านปุ๋ย: มี 2 ส่วน คือ (ก) อัตราปุ๋ย
แอมโมเนียม และ (ข) ชนิดของปุ๋ยแอมโมเนียมที่ใช้ซึ่งมีสภาพกรดสมมูลต่างกัน (2) ปัจจัยด้านพืช: มี 2 ส่วน คือ
(ก) ปริมาณของแอมโมเนียมที่รากพืชดูดไปใช้ และ (ข) เบสิกแคตไอออนที่รากพืชดูดไปใช้ (3) ปัจจัยด้านดิน: มี 2
ส่วน คือ กิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน ซึ่งควบคุมกระบวนการไนตริฟิเคชันในดิน และ (ข) ความจุบัฟเฟอร์
(buffering capacity) ของดิน
residual effect ผลตกค้าง : มีความหมายเหมือนกับ carry over effect