Page 121 -
P. 121

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               121





                    nutrient mining การดูดใช้ธาตุอาหารมากเกิน : การดึงธาตุอาหารและสูญเสียออกไปจากดินในปริมาณมากกว่าที่
                      ใส่กลับคืนสู่ดิน ระบบการเพาะปลูกที่ให้ผลเช่นนี้ จะทําให้เสียสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                      ลดลง

                    nutrient mobility สภาพเคลื่อนที่ได้ธาตุอาหาร : (1) ในดิน อัตราการเคลื่อนที่ของไอออนในดิน หรือเคลื่อนย้าย
                      ไปยังผิวราก โดยการแพร่ (diffusion) หรือไปพร้อมการไหลของนํ้าในดิน (mass flow) ไอออนซึ่งดูดซับอย่าง

                      หลวมๆกับคอลลอยด์ดิน เช่น Cl และ NO  จะเคลื่อนย้ายเร็วกว่าไอออนซึ่งดูดซับแน่นกับคอลลอยด์ดิน เช่น
                                                       -
                                               -
                                                       3
                      Zn  และ H PO
                                   -
                        2+
                               2
                                   4
                    nutrient mobility สภาพเคลื่อนที่ได้ธาตุอาหาร : (2) ในพืช การเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารภายในพืชทางโฟลเอ็ม
                      ซึ่งแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ สภาพเคลื่อนที่สูง (high mobility) เช่น โพแทสเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียมและ
                      ฟอสฟอรัส สภาพเคลื่อนที่ปานกลาง (intermediate mobility) เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดงและ
                      โมลิบดีนัม และสภาพเคลื่อนที่ตํ่า (low mobility) เช่น  แคลเซียมและโบรอน สําหรับโบรอนมีข้อยกเว้น เนื่องจาก
                      มีสภาพเคลื่อนที่สูงในบางพืช

                    nutrient recovery การได้ธาตุอาหารกลับคืน : มีความหมายเหมือนกับ nutrient derived from fertilizer (ธาตุ

                      อาหารจากปุ๋ย) และ apparent recovery efficiency (ประสิทธิภาพการดูดธาตุอาหารจากปุ๋ย)
                    nutrient recycling การหมุนเวียนธาตุอาหารมาใช้ใหม่ : การกลับคืนมาสู่ดินของธาตุอาหารที่รากพืชดูดไปสะสมใน

                      มวลชีวภาพแล้ว เช่น การขับเอ็กซูเดต (exudate) ของรากพืช ใบและกิ่งก้านหล่นบนพื้นดิน การใส่เศษซากพืชใน

                      ดิน และการไถกลบวัชพืชหรือตอซังพืช
                    nutrient removal การดึงธาตุอาหารออกไป : ปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้และติดออกไปกับผลผลิตพืชหรือ

                      มวลชีวภาพที่เก็บเกี่ยว ใช้หน่วย กิโลกรัมธาตุ/ไร่ ในการเก็บเกี่ยวข้าว ถ้านําไปทั้งเมล็ดและฟางข้าว การดึงธาตุ
                      อาหารออกไปจากพื้นที่จะมากกว่าการนําเมล็ดออกไปเพียงอย่างเดียว

                    nutrient requirement ความต้องการธาตุอาหาร : ปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการเพื่อให้ได้ผลผลิตระดับ

                      พอเหมาะ ภายใต้สภาพแวดล้อมและปัจจัยการผลิตที่กําหนด พืชได้ธาตุอาหารดังกล่าวปริมาณดังกล่าวจากที่มีอยู่
                      เดิมในดินและปุ๋ยที่ใส่เพิ่มเติม

                    nutrient response curve เส้นตอบสนองต่อธาตุอาหาร : เส้นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง (1) อัตราปุ๋ยที่ใส่
                      เพิ่มขึ้นหรือความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในวัสดุปลูกที่เพิ่มขึ้น กับการเติบโตหรือผลผลิต หรือ (2) ความ

                      เข้มข้นของธาตุอาหารในเนื้อเยื่อดัชนี (index tissue) กับการเจริญเติบโตหรือผลผลิต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

                      deficient zone, transition zone, adequate zone และ toxic zone
                    nutrient stress ความเครียดจากธาตุอาหาร : สถานภาพของธาตุอาหารในพืช ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากระดับที่จัดว่า

                      พอเหมาะ ได้แก่การขาดแคลนหรือได้รับมากเกินไป หรืออาจเกิดจากภาวะปฏิปักษ์ระหว่างธาตุอาหารก็ได้

                    nutrient toxicity ความเป็นพิษจากธาตุอาหาร : สภาพที่พืชได้รับธาตุใดธาตุหนึ่งมากเกินไป จนการเจริญเติบโต
                      ลดลง หรือแสดงอาการเป็นพิษ อาจเกิดขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยจุลธาตุอัตราสูงเกินไป
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126