Page 116 -
P. 116

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               116





                    nitrogen fertilizer ปุ๋ยไนโตรเจน : ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ อาจเป็นสารอินทรีย์ชึ่งมีไนโตรเจนรูปไน
                      เทรตและ/หรือแอมโมเนียม เช่นแอมโมเนียมซัลเฟต และสารประกอบอินทรีย์ เช่น ยูเรีย ระบุปริมาณธาตุอาหาร

                      อย่างเป็นทางการว่า ไนโตรเจนทั้งหมด (%N)

                    nitrogen fixation การตรึงไนโตรเจน : การแปรสภาพของแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาเป็นสารประกอบไนโตรเจน
                      ซึ่งมีอยู่ 2 กระบวนการ คือ (1) กระบวนการอุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตแอมโมเนียจากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส

                      ไนโตรเจนกับไฮโดรเจน (ดู ammonia synthesis ประกอบ)  และ (2) กระบวนการธรรมชาติ ซึ่งแบ่งเป็น 2 อย่าง
                      คือ  (ก) ออกซิเดชันของไนโตรเจนในอากาศเมื่อฟ้าแลบ  และ (ข) การตรึงไนโตรเจนโดยชีววิธี คือ กิจกรรมซึ่ง

                      จุลินทรีย์ใช้แก๊สไนโตรเจนจากดินมาสังเคราะห์เป็นสารประกอบซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช

                    nitrogen fixing micro-organism จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน : จุลินทรีย์ใช้เอนไซม์ไนโทรจีเนส (nitrogenase) เร่ง
                      ปฏิกิริยาเปลี่ยน N  เป็น NH  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกตรึงไนโตรเจนได้ขณะดํารงชีพโดยอิสระ เช่น สาหร่าย
                                            3
                                    2
                      สีเขียวแกมนํ้าเงิน และกลุ่มที่ 2 การตรึงไนโตรเจนเกิดขึ้นเมื่ออยู่กับพืชอื่น เช่นไรโซเบียมซึ่งอาศัยในรากถั่ว
                    nitrogenase ไนโทรจีเนส: เอนไซม์ที่จุลินทรีย์ใช้ตรึงไนโตรเจน โดยเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยน N  เป็น NH  เป็นเอนไซม์ที่
                                                                                                 3
                                                                                         2
                      มีโมลิบดีนัมและเหล็กในโครงสร้าง
                    nitrogen management การจัดการไนโตรเจน : การจัดการดินเพื่อควบคุมวงจรไนโตรเจน  โดยพิจารณาใช้ปัจจัย
                      ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้พืชใช้ไนโตรเจนในดินเป็นประโยชน์สูงสุด และมุ่งหมายให้เกิดผล 3 ประการ คือ  (1) เพิ่ม

                      ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน  (2) ให้ได้รับผลตอบแทนจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับที่เหมาะสม  และ (3)

                      ไม่มีผลกระทบของการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต่อสิ่งแวดล้อม
                    nitrogen solution สารละลายไนโตรเจนหรือปุ๋ยไนโตรเจนชนิดนํ้า  : ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้นํ้าเป็นตัวทําละลาย   เพื่อ

                      ใส่ในดินโดยตรง หรือใช้ร่วมกับนํ้าชลประทาน ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยเหลวยูเรีย-แอมโมเนียมไนเทรต (UAN) มี
                      ไนโตรเจน 30-32% เป็นปุ๋ยที่เตรียมง่าย ใช้สะดวก ไม่มีความดันในภาชนะ

                    nitrogen stabilizer สารคงเสถียรภาพไนโตรเจน : สารยับยั้งการสูญหายของปุ๋ยแอมโมเนียมในดิน  โดยยับยั้ง

                      กิจกรรมของแบคทีเรีย Nitrosomonas เช่น สารยับยั้งไนทริฟิเคชัน (nitrification inhibitors)
                    nitrogen use efficiency ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน  : สัดส่วนของปุ๋ยไนโตรเจนที่พืชดูดมาใช้และเกิด

                      ประโยชน์ต่อพืชจริงเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของปุ๋ยที่ใส่ (ดูคําอธิบายเพิ่มเติมใน fertilizer use efficiency)
                    nitrogenase ไนโตรจีเนส : เอนไซม์ในเซลล์จุลินทรีย์ ที่เร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยน N  เป็น NH  ใช้ ATP เป็นแหล่ง
                                                                                   2
                                                                                           3
                      พลังงาน (ซึ่งต้องการแมกนีเซียมในปฏิกิริยา) เอนไซม์นี้มีเหล็กและโมลิบดีนัมเป็นโคแฟคเตอร์ (FeMo-cofactor)
                      แมกนีเซียม เหล็กและโมลิบดีนัมจึงมีบทบาทสําคัญในกระบวนการตรึงไนโตรเจนของจุลินทรีย์
                    nitrogenous materials วัสดุไนโตรเจน : วัสดุที่มีไนโตรเจนในรูปของสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์เป็น

                      องค์ประกอบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1)  พวกที่ละลายง่ายและไนโตรเจนเป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ยูเรีย และ (2)

                      พวกที่ไม่ละลาย ไนโตรเจนจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น พลาสติก เศษหนัง และกีบสัตว์
                    nitrophosphate ไนโตรฟอสเฟต : ปุ๋ยเคมีให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส (มีความหมายเหมือน

                      nitricphosphate และ nitraphosphate)
                    nod gene นอดยีน : ยีนที่ช่วยให้แบคทีเรียมีความสามารถเริ่มกระบวนการสร้างปมในรากของพืชอาศัย
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121