Page 112 -
P. 112

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               112





                                                               N



                    N : สัญลักษณ์ของธาตุไนโตรเจน (nitrogen)

                    Na : สัญลักษณ์ของธาตุโซเดียม (sodium) มาจากชื่อธาตุในภาษาละติน Natrium

                    NAD : อักษรย่อของ nicotinamide edenine dinucleotide โคเอนไซม์ที่จําเป็นสําหรับกระบวนการหายใจ (มี
                      ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ) การใช้กลูโคส 1 โมเลกุลในการหายใจนั้น NAD ถูกรีดิวซ์ได้ NADH 10 โมเลกุล แต่

                      ละโมเลกุลของ NADH มีพลังงานเพียงพอสําหรับการสังเคราะห์  ATP ได้ 3 โมเลกุล
                    NADP : อักษรย่อของ nicotinamide edenine dinucleotide phosphate เป็นโคเอนไซม์ที่มีโครงสร้างคล้าย

                      NAD ต่างกันเพียงมีฟอสเฟตเพิ่มอีกหนึ่งหมู่ NADP ถูกรีดิวซ์เป็น NADPH โดยการเพิ่ม 2 อิเล็กตรอนและ 1

                               +
                      โปรตอน (H ) มีบทบาทสําคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง
                    nano นาโน: ปัจจัยที่แสดงความหมาย 10  หน่วย ใช้ขยายหน่วยของความยาว นํ้าหนักหรือปริมาตร เช่น 1 นาโน
                                                    -9
                      กรัมเท่ากับ 10  กรัม, 1 นาโนเมตรเท่ากับ 10  เมตร
                                                        -9
                                 -9
                    nanofertilizer ปุ๋ยนาโน: ปุ๋ยที่ผลิตให้มีอนุภาคขนาดนาโน (ดู nanoscale)
                    nanoscale ขนาดนาโน: ขนาดระหว่างประมาณ 1 ถึง 100 นาโนเมตร

                    nanostructure โครงสร้างนาโน : โครงสร้างที่ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย โดยอย่างน้อยหนึ่งองค์ประกอบต้องมี
                      ขนาดนาโน

                    nanotechnology เทคโนโลยีนาโน: ศาสตร์เกี่ยวกับวิธีการผลิตและใช้วัสดุขนาดนาโน

                    native rhizobia ไรโซเบียมเดิม : ไรโซเบียมซึ่งมีอยู่เดิมในดินที่ไม่เคยใส่เชื้อไรโซเบียมจากภายนอก (rhizobium
                      เป็นเอกพจน์ ส่วน rhizobia เป็นพหูพจน์)

                    natural farming เกษตรกรรมธรรมชาติ : ระบบการเกษตรที่อาศัยปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อยที่สุด มีการปลูก
                      พืชต่างๆร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ ไถพรวนเท่าที่จําเป็นด้วยแรงงานสัตว์ บํารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และควบคุมวัชพืช/

                      ศัตรูพืชแบบธรรมชาติ การปฏิบัติต่างๆมีแบบแผนและกิจกรรมน้อยกว่าเกษตรกรรมอินทรีย์ (organic farming)

                    natural organic fertilizer ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ : ปุ๋ยคอกจากสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม และปุ๋ยหมักที่ทําในไร่นา จากการ
                      หมักตามธรรมชาติ

                    necrosis เนื้อเยื่อตาย : อาการผิดปรกติของพืช สังเกตได้จากเนื้อเยื่อใบตายเป็นหย่อมๆ ในขณะที่บริเวณโดยรอบ
                       ยังมีสีเขียว (necro-, L: ศพ)

                    neem สะเดา : ไม้ยืนต้นซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์  Azadirachta indica (Melia indica) ใบและเมล็ดมีสารที่ใช้กําจัด

                       แมลงศัตรูพืชได้ สาร triterpenes ในเมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมของแบคทีเรียที่ออกซิไดส์แอมโมเนียมให้เป็นไน
                       เทรต หรือยับยั้งกระบวนการไนทริฟิเคชัน (nitrification inhibitor)

                    neem cake กากเมล็ดสะเดา : กากเมล็ดสะเดาที่เหลือจากการสกัดนํ้ามัน ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากมีไนโตรเจน

                      5%N ฟอสฟอรัส 1%P O  และโพแทสเซียม 1.5%K O นอกจากนี้ยังใช้เคลือบผิวเม็ดปุ๋ยยูเรีย เพื่อช่วยยับยั้ง
                                       2 5
                                                             2
                      กระบวนการไนทริฟิเคชัน
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117