Page 113 -
P. 113
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
113
neem coated urea ยูเรียเคลือบผิวเม็ดด้วยสะเดา : ยูเรียชนิดเม็ดซึ่งเคลือบผิวเม็ดปุ๋ยด้วยผงกากเมล็ดสะเดา หรือ
สารสกัดจากกากเมล็ดสะเดา เพื่อลดการสูญเสียไนโตรเจนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยยูเรีย
negative interaction อันตรกิริยาเชิงลบ : อันตรกิริยาของสองปัจจัย (เช่น ปุ๋ยสองชนิด) ที่ใช้ร่วมกัน แต่ได้ผลต่อ
การเจริญเติบโตของพืช น้อยกว่าผลของแต่ละปัจจัยรวมกัน เนื่องจากแต่ละปัจจัยมีผลเชิงลบต่อกัน เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่าภาวะปฏิปักษ์ (antagonism) ตัวอย่างเช่นภาวะปฏิปักษ์ระหว่าง P-Zn หรือ K-Mg
nesting การใส่ปุ๋ยเป็นกระจุก : การใส่ปุ๋ยวิธีพิเศษเพื่อลดการกระจาย โดยให้ปุ๋ยอยู่ในจุดหรือบริเวณที่กําหนด
net weight นํ้าหนักสุทธิ : นํ้าหนักของเนื้อปุ๋ยจริง ๆ ไม่รวมนํ้าหนักกระสอบหรือวัสดุส่วนที่เป็นหีบห่อ นํ้าหนักปุ๋ย
ที่ระบุไว้ในฉลากเป็นนํ้าหนักสุทธิ
net photosynthesis การสังเคราะห์แสงสุทธิ : ผลต่างระหว่างการสังเคราะห์แสงทั้งหมด (gross หรือ total
photosynthesis) กับการหายใจ เป็นดัชนีบ่งชี้การผลิตมวลชีวภาพ (biomass production) และผลผลิตพืช
neutral เป็นกลาง : สภาพของสารละลายที่ไม่เป็นกรดหรือไม่เป็นด่างและมี pH 7
-
+
-7
-7
เพราะความเข้มข้นของ H = 10 โมลาร์ และ OH = 10 โมลาร์เท่ากัน นํ้าบริสุทธิ์เป็นกลาง
neutralizing value ค่าทําให้เป็นกลาง : ดัชนีที่ระบุความสามารถในการทําให้กรดเป็นกลางของปูนแต่ละชนิด โดย
กําหนดให้ CaCO บริสุทธิ์มีค่าทําให้เป็นกลาง 100 ส่วนปูนชนิดอื่นมีค่าต่างกันดังนี้ MgCO 119, CaO 179,
3
3
Ca(OH) 136 ซึ่งมีความหมายดังนี้ MgCO 100 กก. มีฤทธิ์ด่างเท่ากับ CaCO บริสุทธิ์ 119 กก. และ CaO
3
2
3
100 กก. มีฤทธิ์ด่างเท่ากับ CaCO บริสุทธิ์ 179 กก.
3
niche วิถีชีวิตเฉพาะ : ส่วนประกอบทุกด้านอันเป็นตัวแปรทางกายภาพและชีวภาพ ซึ่งมีผลต่อความผาสุกของ
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ประกอบด้วยช่วงอุณหภูมิ ระดับความชื้น ชนิดดิน ถิ่นที่อยู่ (habitat) และความแปรปรวน
ของฤดูกาลที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตนั้น
nickel (Ni) นิกเกิล : ธาตุอาหารประเภทจุลธาตุ นํ้าหนักอะตอม 58.71 เซลล์พืชดูดในรูปนิกเกลัสไอออน
+
2+
(nickelous ion, Ni ) ส่วน Ni แม้เซลล์พืชจะดูดได้แต่มีในธรรมธาตุน้อยกว่ารูปแรกมาก ความเข้มข้นในพืช
0.1-0.5 มก.Ni/กก. ธาตุนี้เป็นโคแฟกแตอร์ของเอนไซม์ยูรีเอส ซึ่งเร่งปฏิกิริยาการสลายยูเรียให้เป็นแอมโมเนียและ
คาร์บอนไดออกไซด์ ทําให้พืชใช้ประโยชน์ยูเรียที่รากหรือใบดูดเข้าไปได้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้พืชทนต่อโรคบาง
ชนิดด้วย ระดับวิกฤติในส่วนเหนือดินของบาร์เลย์ 0.1 มก.Ni/กก. เนื่องจากเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้
น้อย อาการขาดธาตุนี้จึงปรากฏที่ยอดและใบอ่อน อาจขาดเมื่อปลูกในดินด่างหรือใส่ปูนมากเกินไป
nicotianamine นิโคเตียนามีน: สารอินทรีย์ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกรดอะมิโนเมไทโอนีน 3 โมเลกุล เป็นสารตั้ง
ต้นของการสังเคราะห์สารกลุ่มไฟโทซิเดโรฟอร์ (phytosiderophores) ซึ่งรากพืชที่อยู่ในภาวะขาดเหล็กขับออกมาสู่
ดิน เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของเหล็กในดิน
nif gene นิฟยีน : กลุ่มยีนที่รับผิดชอบในการสังเคราะห์และกิจกรรมของเอนไซม์ไนโตรจีเนส ซึ่งเร่งปฏิกิริยาตรึง
ไนโตรเจนของจุลลินทรีย์
nitrapyrin ไนทราไพริน : สารสังเคราะห์มีผลยับยั้งไนทริฟิเคชัน โดยเป็นพิษต่อการทํางานของเอนไซม์ไซโทโครม
ออกซิเดส ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการออกซิไดส์แอมโมเนียมให้เป็นไนไทรต์ โดยไปดึงทองแดงออกมาจากเอนไซม์
ดังกล่าว