Page 110 -
P. 110

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               110





                    monoculture การปลูกพืชเดี่ยว : การปลูกพืชเพียงชนิดเดียวในพื้นที่เดิมต่อเนื่องกันทุกปี
                    monoecious ดอกแยกเพศร่วมต้น: พืชซึ่งมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (monoecious, G: บ้าน

                      เดียว)

                    monomer โมโนเมอร์ : โมเลกุลหน่วยเดียว ซึ่งเมื่อเชื่อมโยงกันจะได้โมเลกุลใหญ่เรียกว่าพอลิเมอร์ (polymer)
                    mononucleotide โมโนนิวคลีโอไทด์: หน่วยโครงสร้างของกรดนิวคลีอิก (nucleic acid) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

                      นํ้าตาลไรโบส ไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base) และอนุมูลฟอสเฟต เมื่อหลายหน่วยมาต่อกันได้จะพอลินิวคลี
                      โอไทด์ (polynucleotide)

                    monopotassium phosphate โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (KH PO ) : ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อยู่ในกลุ่มโพแทสเซียม
                                                                         4
                                                                      2
                      ฟอสเฟต ดูคําอธิบายใน potassium phosphate
                    nonosaccharide โมโนแซ็กคาไรด์ : คาร์โบไฮเดรตหน่วยเล็กที่สุด เช่น กลูโคสและฟลุกโทส เมื่อกลูโคสเชื่อมกับฟ

                      ลุกโทสได้ไดแซกคาไรด์ชื่อซูโครส แต่ถ้ากลูโคสเชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาวจะได้พอลิเมอร์ คือ แป้งหรือเซลลูโลสขึ้นอยู่
                      กับพันธะเคมีของการเชื่อมโยง

                    MOP: อักษรย่อของ muriate of potash หรือโพแทสเซียมคลอไรค์ (potassium chloride, 0-0-60) ผลิตจากกรด

                      ไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งภาษาเคมีโบราณเรียกว่า muriatic acid
                    motor organ อวัยวะเคลื่อนไหว: อวัยวะของพืชที่มีการเคลื่อนไหวเพราะมีกลไกควบคุม เช่น ใบพืชตระกูลถั่วที่หุบ

                      ตอนกลางคืน (nyctinastic movement) และใบไมยราพที่หุบเมื่อถูกกระทบ (seismonastic movment)

                      โพแทสเซียมเป็นธาตุหนึ่งที่ควบคุมกลไกการเคลื่อนไหวของใบ
                    motor proteins โปรตีนเคลื่อนไหว : โปรตีนซึ่งจับกับไมโครทูมูลและไมโครไฟลาเมนต์ เมื่อโปรตีนนี้ใช้พลังงานจาก

                      ATP จะทําให้เกิดการเคลื่อนไหวของโมเลกุลและออร์แกเนลล์ต่างๆภายในเซลล์
                    mRNA : อักษรย่อของ messenger ribonucleic acid หรืออาร์เอ็นเอนํารหัส

                    mucilage layer ชั้นเมือก : สารเมือกที่รากขับออกมาหุ้มหมวกรากเป็นชั้นหนา ประกอบด้วยสารพวกคาร์โบไฮเดรต

                      เมื่อแห้งจะแข็งแต่เมื่อดูดนํ้าจะเป็นเมือกลื่น จุลินทรีย์ในไรโซสะเฟียร์ใช้เป็นอาหาร
                    muck มัค  :  สารอินทรีย์ที่สลายตัวดีแล้วจนจําไม่ได้ว่ามาจากส่วนไหนของพืช มีสีเข้ม

                    mugineic acid กรดมิวจิเนอิก : กรดอินทรีย์ซึ่งรากพืชในตระกูลหญ้าบางชนิด ขับออกมาเมื่อเริ่มมีภาวะขาดเหล็ก
                      ทําหน้าที่เป็นสารคีเลตเพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของเหล็กในดิน เป็นกลยุทธ์ หนึ่งของพืชที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

                      ในสภาพที่พืชเริ่มขาดเหล็ก

                    mulch วัสดุคลุมดิน : วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้คลุมผิวดิน ซึ่งนอกเหนือจากซากพืชที่เหลือจากฤดูปลูกที่ผ่านมาแล้ว ยังใช้ขี้
                      เลื่อย ใบไม้ ฟางข้าว ปุ๋ยหมัก ตลอดจนแผ่นพลาสติกก็ได้ การใช้วัสดุคลุมดินจะช่วยลดการระเหยนํ้าจากผิวดิน

                      ควบคุมการเติบโตของวัชพืช และลดการกร่อนของหน้าดิน  นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มการซึมนํ้าและทําให้อุณหภูมิ

                      ของดินไม่แปรผันเร็ว
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115