Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
115
nitricphosphate ไนทริกฟอสเฟต : ปุ๋ยเชิงประกอบที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างหินฟอสเฟตกับกรดไนทริก หรือ
กรดผสมระหว่างกรดไนทริกกับกรดซัลฟิวริก หรือกรดฟอสฟอริก หรือกรดผสมทั้งสามชนิด ต่อด้วยกระบวนการ
แอมโมนิเอชัน แคลเซียมไนเทรตซึ่งเกิดขึ้นในปฏิกิริยาตอนต้น จะถูกแยกออกโดยการตกผลึก เนื่องจากเกลือชนิด
นี้ชื้นง่าย มักเติมปุ๋ยโพแทชเพื่อให้ปุ๋ยเชิงประกอบนี้มีธาตุปุ๋ยครบทั้งสามธาตุ ปุ๋ยไนโตรฟอสเฟตประกอบด้วยได
แคลเซียมฟอสเฟต แอมโมเนียมไนเทรต โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต เกลือโพแทชและอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่
ใช้ในกระบวนการ (เรียกว่า nitrophosphate ก็ได้)
nitrification ไนทริฟิเคชัน : กระบวนการเปลี่ยนแอมโมเนียมไอออนเป็นไนเทรต เกิดในดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี
+
โดยแบคทีเรีย Nitrosomonas เปลี่ยนแอมโมเนียมเป็นไนไทรต์ และ H ส่วน Nitrobacter เปลี่ยนไนไทรต์เป็น
ไนเทรต การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมอย่างต่อเนื่องในดินที่มีความจุบัฟเฟอร์ (soil buffering capacity, soil) ตํ่า pH
ของดินมีแนวโน้มจะลดลง
nitrification inhibitor สารยับยั้งไนทริฟิเคชัน : สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่ออกซิไดส์
แอมโมเนียม ใช้สารนี้ร่วมกับปุ๋ยแอมโมเนียมเพื่อชะลอการเปลี่ยนแอมโมเนียมไปเป็นไทรต์และไนเทรต จึงช่วยลด
การชะล้างไนเทรตไปจากดิน เช่น Thiourea, dicyandiamide และ 2-chloro-6-(trichoromethyl) pyridine
nitrite reductase ไนไทรต์รีดักเทส: เอนไซม์ในคลอโรพลาสต์ที่เร่งปฏิกิริยาการรีดิวซ์ไนไทรต์ให้เป็นแอมโมเนียม
ไอออน โดยรับอิเล็กตรอนจากระบบแสง I ผ่านเฟอรีดอกซิน (มีเหล็กและกํามะถันในโครงสร้าง)
nitrogen (N) ไนโตรเจน : ธาตุอาหารประเภทมหธาตุ นํ้าหนักอะตอม 14.0 มีอยู่ในบรรยากาศ 79% โดยปริมาตร
เป็นแก๊สเฉื่อย ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น เซลล์พืชดูดในรูปไนเทตไอออน (NO ) แอมโมเนียมไอออน (NH ) และยูเรีย
+
-
3
4
นอกจากนี้ยังดูดในรูปกรดอะมิโนได้ด้วย แต่เนื่องจากมีกรดอะมิโนในดินเพียงเล็กน้อยจึงไม่ใช่แหล่งสําคัญของ
ไนโตรเจนต่อพืช อินทรียวัตถุในดินเป็นแหล่งสํารองไนโตรเจนที่สําคัญของพืช นอกจากนั้นดินยังได้รับธาตุนี้จาก
การตรึงด้วยชีววิธีของจุลินทรีย์ดิน และติดมากับนํ้าฝน ธาตุนี้เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ กรดอะมิโน โปรตีน
(ปริมาณโปรตีนในพืช = 6.25 x ปริมาณไนโตรเจน) ATP, กรดนิวคลีอิก (DNA และ RNA) และโคเอนไซม์
หลายชนิด ระดับเพียงพอในใบดัชนีของถั่ว คือ 3.8-4.5% เนื่องจากเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้ดี (mobile
element) อาการขาดธาตุนี้จึงปรากฏที่ใบแก่ ธาตุนี้ขาดแคลนในดินที่มีอินทรียวัตถุตํ่า
nitrogen assimilation การใช้ประโยชน์ไนโตรเจน : กระบวนการนําไนทรต แอมโมเนียมและยูเรียที่พืชดูดได้ มา
สังเคราะห์เป็นสารประกอบอินทรีย์ ได้กรดอะมิโนชนิดต่างๆ เช่น กรดกลูตามิก (glutamic acid) กลูตามีน
(glutamine) และแอสพาราจีน (asparagene)
nitrogen carrier : มีความหมายเหมือน nitrogen fertilizer
nitrogen cycle วัฏจักรไนโตรเจน : การเปลี่ยนแปลงของไนโตรเจนในธรรมชาติ จากแก๊สไนโตรเจนในบรรยากาศ
ผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจนโดยชีววิธีมาเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต การตรึงแบบอุตสาหกรรมเป็นปุ๋ย ซึ่งใส่
ลงไปในดินและพืชใช้ประโยชน์ สัตว์กินพืชแล้วขับถ่ายมูล หรือเป็นปุ๋ยคอกลงไปในดิน ไนโตรเจนในสารประกอบอ
นินทรีย์และสารประกอบอินทรีย์ในดินเปลี่ยนกลับมาเป็นแก๊สอีกครั้งหนึ่ง